ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพพนักงานสายการบินของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • นวพล ลอยลอง

คำสำคัญ:

การเลือกอาชีพ, พนักงานสายการบิน, นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพพนักงานสายการบินของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 283 คน เครื่องมือคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาเกี่ยวกับอาชีพพนักงานสายการบินจากสื่อต่างๆ นโยบายการรับพนักงานของสายการบิน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเลือกอาชีพพนักงานสายการบินในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 3.2791 การรับรู้ข้อมูล พบว่า การรับรู้ข้อมูลผ่านทางนโยบายการรับพนักงานของสายการบิน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ค่าเฉลี่ย 4.0468 รองลงมาการรับรู้ข้อมูลผ่านทางสื่อต่างๆ มีค่าเฉลี่ย 3.4419 การรับรู้ข้อมูลผ่านทางเพื่อนร่วมชั้นเรียน มีค่าเฉลี่ย 3.3461 และการรับรู้ข้อมูลผ่านทางอาจารย์ที่ปรึกษา มีค่าเฉลี่ย 2.6364 โดยแบ่งปัจจัยในแต่ละด้าน ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลผ่านทางนโยบายการรับพนักงานสายการบิน ปัจจัยที่มีผลต่อการสนใจอาชีพพนักงานสายการบินมากที่สุด คือ รายได้ รองลงมา คือ สวัสดิการ การรับรู้ข้อมูลผ่านทางสื่อต่างๆ มากที่สุด คือ ความมั่นคงของสายการบิน รองลงมา คือ ชื่อเสียงของสายการบิน การรับรู้ข้อมูลผ่านทางเพื่อนร่วมชั้นเรียนมากที่สุด คือ สวัสดิการ รองลงมา คือ ชื่อเสียงของสายการบิน การรับรู้ข้อมูลผ่านทางอาจารย์ที่ปรึกษามากที่สุด คือ อาจารย์ที่ปรึกษาที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นพนักงานสายการบิน ทั้งข้อดีและข้อเสียเป็นอย่างดี รองลงมา คือ การเลื่อนตำแหน่ง

References

ธนพร เรืองพณิชยกุล. (2555). ความคิดเห็นของผู้โดยสารคนไทยที่มีต่อคุณภาพการบริการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

ปิยวรรณ งามสง่า. (2564). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิไลภรณ์ พรวิจิตรตระกูล. (2562). ทัศนคติของผู้โดยสารชาวไทยต่อพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Abraham H. Maslow. (1980). Theory of human motivation. Harper and Rows Publisher.

Ade Dharma. (2018). Influence of career development and motivation to employee performance through organizational commitment in institutional development section of educational. [Unpublished doctoral dissertation]. Krisnadwipayana University Jakarta.

Ajzen, I. (2005). Attitudes, personality and behavior (2nd ed.). Open University Press.

Alderfer, P. C. (1972). Existence Relatedness and Growth: Human need in Organization Settings. Free Press.

Maslow, Abraham H. (1970). Motivation and personality (2nd ed.). Harper & Row.

Pinder, C. (1998). Work Motivation in Organizational Behavior. Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

ลอยลอง น. (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพพนักงานสายการบินของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือ. วารสารการจัดการอุตสาหกรรมการบิน, 1(3), 24–40. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/KBUJAM/article/view/398

ฉบับ

บท

บทความวิจัย