การตระหนักรู้ถึงมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากสหภาพยุโรป (GDPR) ของพนักงานปฏิบัติการท่าอากาศยาน

ผู้แต่ง

  • เอกสิทธิ์ โตรัตน์ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
  • อาทิตติยา แสงจันทร์ สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากสหภาพยุโรป, การตระหนักรู้, พนักงานปฎิบัติการท่าอากาศยาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตระหนักรู้ถึงมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากสหภาพยุโรป หรือ General Data Protection Regulation (GDPR) โดยศึกษาแนวคิดด้านการตระหนักรู้ถึงมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากสหภาพยุโรปของพนักงานปฎิบัติการท่าอากาศยาน ในเขตท่าอากาศยานนานาชาติ ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ประชากรทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เป็นพนักงานปฏิบัติการท่าอากาศยานซึ่งทํางานในเขตท่าอากาศยานนานาชาติแห่งหนึ่งจํานวน 391 คน ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการสํารวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจํานวน 391 ชุด ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานเพื่อหาค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว คือ One Way ANOVA จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างพบว่า ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26 - 35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรีมากที่สุด ประชากรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการผู้โดยสารที่ท่าอากาศยาน กลุ่มตัวอย่างรับรู้ข้อมูลรายละเอียดด้านมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในสหภาพยุโรป (GDPR) จากสื่อบุคคล จากการอบรม หรือสัมมนามากที่สุดคือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 และ รับรู้ข้อมูลรายละเอียดจากสื่อมวลชนได้แก่ สื่อทางอินเตอร์เน็ตมากที่สุดมี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ด้านข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากสหภาพยุโรป (GDPR) ในระดับน้อย จากการวัดระดับการรับรู้ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลรายละเอียดมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากสหภาพยุโรป (GDPR) ในระดับต่ำมีค่าเฉลี่ย เท่ากับร้อยละ36.42

References

ฉกาจ ชลายุทธ. (2561). 8 เหตุผลที่คุณควรสนใจข้อกําหนด GDPR จาก EU. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2562

จาก https://www.marketingoops.com/exclusive/8-reason-to-know-about-gdpr/

ชวพล จริยาวิโรจน์. (2561). AWS ปลุกธุรกิจไทยตื่นตัว. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562 จาก

https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000061126

ณิชาฉัฐ ปัฎสาศิลป์. (2560). ข้อบังคับการคุ้มครองข้อมูลทั่วไปของสหภาพยุโรป. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). เอกสารเผยแพร่เรื่อง การสัมมนา. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562 จาก

http://elearning.psru.ac.th/courses/185/Lesson1.pdf

ธาริณี มณีรอด. (2559). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติ

ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เบญญาภา ช่างประดิษฐ์. (2560). ระบบประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing): ข้อเสนอแนะเพื่อ

การยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาการค้าระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เตชทัต ใจท้วม. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลง ตามการรับรู้ของพนักงานกับการ

เสริมสร้างพลังอำนาจเชิงจิตวิทยาในงาน และความผูกพันในงานของพนักงาน กรณีศึกษาพนักงาน

สายการบินแห่งหนึ่งในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิรวัฒน์ ไทยแท้. (2554). กลวิธีความสุภาพในการปฏิเสธการขอร้องของผู้โดยสารจากมุมมองของวัจนปฏิบัติ

ศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์, 18(2), 141-156.

สิทธินัย จันทรานนท์. (2561). Digital Thailand Forum: GDPR และผลกระทบต่อธุรกิจไทย. สืบค้นเมื่อ10

เมษายน 2567 จาก https://www.thebangkokinsight.com/19970/

รักไท เทพปัญญา. (2561). ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (the

General Data Protection Regulation (GDPR). สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567 จาก

https://lawforasean.krisdika.go.th/

สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สพธอ. (2561). การปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง

ที่จะเกิดขึ้น จากการเริ่มใช้ GDPR. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 จาก

https://ico.org.uk/media/1624219/preparing-for-the-gdpr-12-steps.pdf

อาทิตติยา แสงจันทร์ และ ธงชัย จีระดิษฐ์. (2563). การรับรู้ข้อมูลต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(GDPR)

ของพนักงานบริการภาคพื้น กรณีศึกษาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยเกษม

บัณฑิต.

International Civil Aviation Organization: ICAO. (2018). Annex 14, Aerodrome. ICAO, Canada

Jeeradist, T. (2021). SERVQUAL and Kano’s Model Integrated to Develop a Conceptual Model

of Airport Terminal Service Implementation. E3S Web of Conferences 258, 02010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

โตรัตน์ เ., & แสงจันทร์ อ. (2024). การตระหนักรู้ถึงมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากสหภาพยุโรป (GDPR) ของพนักงานปฏิบัติการท่าอากาศยาน. วารสารการจัดการอุตสาหกรรมการบิน, 1(3), 8–23. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/KBUJAM/article/view/397

ฉบับ

บท

บทความวิจัย