การบริหารจัดการสภาพคล่องการจราจรทางอากาศเพื่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบิน

ผู้แต่ง

  • Dudsadee Sungthong -

คำสำคัญ:

การบริหารสภาพสภาพคล่องการจราจรทางอากาศ, มาตรการหน่วงเวลาวิ่งขึ้น, ประสิทธิภาพการดำเนินงานสายการบิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบริหารสภาพคล่องการจราจรทางอากาศด้วยมาตรการหน่วงเวลาวิ่งขึ้น (Ground Delay Program) ของเที่ยวบินจากท่าอากาศยาน 2) เพื่อศึกษาแนวทางด้านมาตรการหน่วงเวลาวิ่งขึ้น (Ground Delay Program) ของเที่ยวบินเพื่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบิน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ นักบินที่ทำการบินให้กับสายการบิน ด้วยจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) นักบินผู้ควบคุมอากาศยาน และนักบินผู้ช่วย มีแนวคิดต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบินในระดับมาก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) นักบินที่มีประสบการณ์จากการปฎิบัติการบินเข้าประเทศในทวีปยุโรป และ ออกเดินทางจากประเทศในทวีปยุโรป รวมทั้งนักบินที่ไม่มีประสบการณ์จากการปฎิบัติการบินเข้าประเทศในทวีปยุโรป และ ออกเดินทางจากประเทศในทวีปยุโรป มีแนวคิดต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบินในระดับมาก ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) นักบินที่มีประสบการณ์ปฎิบัติการบินบินข้ามทวีป และนักบินที่ไม่เคยปฎิบัติการบินข้ามทวีป มีแนวคิดต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบินในระดับมาก ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ คือ ควรเพิ่มเครือข่ายและช่องทางการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสภาพคล่องการจราจรทางอากาศเพื่อความเข้าใจมาตรการหน่วงเวลาวิ่งขึ้นอย่างถูกต้องและสามารถปฎิบัติการได้อย่างสอดคล้องและเชื่อมโยงถึงกัน และ ผู้ควบคุมการดำเนินงานจากสายการบินที่เกี่ยวข้องควรทำความเข้าใจกับการบริหารสภาพคล่องการจราจรทางอากาศ และสื่อสารให้เครือข่ายผู้ปฏิบัติงานเข้าใจเพื่อปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบิน ทั้งนี้ ผู้ทำการวิจัยเพื่อขยายผลด้านการบริหารสภาพคล่องการจราจรทางอากาศด้วยมาตรการหน่วงเวลาวิ่งขึ้น อาจทำการศึกษาในกระบวนการของท่าอากาศยาน หรือ พื้นที่ในห้วงอากาศ เช่น จุดรายงาน ในเส้นทางบินที่หน่วยควบคุมการปฎิบัติการของสายการบินใข้วางแผนเส้นทางบินเพื่อการปฎิบัติการบิน รวมถึงการศึกษามาตรการบริหารสภาพคล่องการจราจรทางอากาศเพื่อสร้างความสมดุลเพื่อการรองรับเที่ยวบินกับปริมาณเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น

References

จารุภา คงขาว. (2558). การวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานสายการบินต้นทุนต่ำของไทย กรณีศึกษา สายการบินนกแอร์เปรียบเทียบกับไทยแอร์เอเชีย. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดุษฎี สังข์ทอง. (2561) การยอมรับการบริหารสภาพคล่องการจราจรทางอากาศด้วยมาตรการหน่วงเวลาวิ่งขึ้นของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

นันทพร อารมณ์ชื่น. (2558). ประสิทธิภาพการให้บริการและภาพลักษณ์องค์กรที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสถานพยาบาลเอกชนของพนักงาน บรษัท MOCAP ในการใช้สิทธิประกันสังคม. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการจัดการสาธารณะ. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. (2566). Air Navigation Services. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน

จาก: https://www.aerothai.co.th/en/services.

สกุลทอง เจริญทอง. (2565) การบูรณาการสมรรถนะและคุณภาพการให้บริการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพงานบริการบนเครื่องบิน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA). (2564). Passenger Demand Continues to Struggle. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2565 จาก https://www.airlines.iata.org.

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA). (2566). Air-passenger-market-analysis. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2566 จาก https://www.iata.org/en/iata-repository/publications/economic-reports/air-passenger-market-analysis---june-2023/

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2561). บรรณสารการบินประเทศไทย (AIP Thailand).

สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2566 จาก: https://ais.caat.or.th/.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2563). ประกาศขีดความสามารถท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 23

กันยายน 2566 จาก: https://www.caat.or.th/th/archives/category/data-research-th/.

สุพจน์ นาลัย. (2562). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2566จาก: https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin92/6214154597.

สราลักษณ์ เรืองหุ่น. (2563). กลยุทธ์การบริหารจัดการหลุมจอดอากาศยานท่าอากาศยานดอนเมือง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สถาบันการบินพลเรือน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อรทัย เลื่อนวัน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ: กรณีศึกษา กรมการพัฒนา

ชุมชนศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิชาเอกการจัดการทั่วไป

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

AIRBUS S.A.S. (2017). Global Market Forecast. 4nd ed. Lavaur: Art & Caractère.

International Civil Aviation Organization. (2561). Air Traffic Management (ATM). สืบค้นเมื่อ 12

กันยายน 2566 จาก: https://www.icao.int/safety/Pages/atm.aspx.

International Civil Aviation Organization. (2018). Annex 11 Air Traffic Services. 15th ed.

International Civil Aviation Organization.

International Civil Aviation Organization. (2016). Doc 4444 Air Traffic Management. 16th ed.

International Civil Aviation Organization.

International Civil Aviation Organization. (2018). Doc 9971 Manual on Collaborative Air Traffic

Flow Management (ATFM). 3rd ed. International Civil Aviation Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

Sungthong, D. (2023). การบริหารจัดการสภาพคล่องการจราจรทางอากาศเพื่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบิน. วารสารการจัดการอุตสาหกรรมการบิน, 1(2), 23–42. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/KBUJAM/article/view/290

ฉบับ

บท

บทความวิจัย