แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
คำสำคัญ:
การพัฒนาทักษะการคิด, นวัตกรรมของครู, ประถมศึกษาเลย เขต 2บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ระดับความสามารถด้านการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู โดยพิจารณาแยกตามตำแหน่งหน้าที่ ระยะเวลาการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมและต่อยอดทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสังกัดเดียวกัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพครูและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,(S.D.) ค่า t–test, (Independent Samples) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’) และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
(1) ผลการศึกษาระดับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูภายใต้การดูแลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 พบว่า จากภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านที่ 5 ด้านการเชื่อมโยงและร่วมมือเพื่อพัฒนานวัตกรรม รองลงมา คือ ด้านที่ 3 ด้านการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ ด้านที่ 4 ด้านการปรับปรุงเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ ด้านที่ 2 ด้านการเชื่อมโยงความรู้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ตามลำดับและด้านที่ต่ำสุด คือ ด้านที่ 1 ด้าน การกล้าคิด กล้าทำ ด้วยจินตนาการ
(2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูภายใต้การดูแลของสงกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนก ตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งประสบการณ์และขนาดโรงเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน สอดคล้องกับสมมติฐาน ของการวิจัยที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05
(3) วิธีการส่งเสริมและต่อยอดทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูภายใต้การดูแลของสงกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ต้องอาศัยแนวทางที่หลากหลายและต่อเนื่องตั้งแต่การส่งเสริมความกล้าคิดกล้าทำการบูรณาการความรู้การตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์การพัฒนาวิธีการสอนและการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาหากสามารถดำเนินการตามแนวทางเหล่านี้ได้อย่างเป็นระบบจะช่วยให้ครูสามารถสร้างสรรค์การจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาในอนาคต
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking). (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : ซัคเซสมีเดีย.
_____. (2558). เปิดประตูสู่อาเซียนด้วยการคิดเชิงนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์. จุลสาร ป.ป.ช. “สุจริต”,15(55), 43-45.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2557). คิดนอกกรอบ: สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
อนุชา โสมาบุตร. (2563). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2568,จาก https://teacherweekly.wordpress.com/2013/09/25/.
อรชร ปราจันทร์. (2560). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร
Amelink, C., Fowlin, J., & Scales, G. (2013). Defining and measuring innovative thinking among engineering undergraduates. Retrieved from:file:///C:/Users/User/Downloads/ASEE_2013_DRAFT_PAPER_innovative_thinking_FINAL.pdf.
Australian National Training Authority (ANTA). (2001). Innovation: Ideas That Work for Trainers of Innovation at Work Skills. Brisbane: Australian National Training Authority.
Ekanem, A. (2016). The Power of Positive, Creative and Innovative Thinking. Retrieved from: https://www.amazon.com/Power-Positive-CreativeInnovativeThinking/dp/1542667968
Garrison, D. R. (2015). Thinking collaboratively: Learning in a community of inquiry. New York : Rutledge.
Lee, C., & Benza, R. (2015). Teaching innovation skills: Application of design thinking in a graduate marketing course. Business Education Innovation Journal, 7(1), 43-50.
Ness, R. B. (2015). Promoting innovative thinking. American Journal of Public Health, 105(1), 114-118. Swallow, E. (2012). Can innovative thinking be learned? [n.p.] Forbes.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสินธุ์โสธร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Authors who publish with Journal of TCI agree to the following terms:
- Authors retain copyright and grant the journal right of first publication with the work simultaneously licensed under a Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) that allows others to share the work with an acknowledgment of the work's authorship and initial publication in this journal.
- Authors are able to enter into separate, additional contractual arrangements for the non-exclusive distribution of the journal's published version of the work (e.g., post it to an institutional repository or publish it in a book), with an acknowledgment of its initial publication in this journal.
- Authors are permitted and encouraged to post their work online (e.g., in institutional repositories or on their website) prior to and during the submission process, as it can lead to productive exchanges, as well as earlier and greater citation of published work.