ระบอบดูเตร์เต้: องค(ชาต)อธิปัตย์แบบศรีธนญชัยกับ “สถุลรส” ของผู้นำอำนาจนิยม

Main Article Content

อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู

บทคัดย่อ

“ปูตังอีนา--!” สังคมไทยน่าจะได้ยินคำสบถภาษาตากาล็อกดังกล่าวเป็นครั้งแรกจากนวนิยายบันทึกความทรงจำของวิตต์ สุทธเสถียร เรื่อง ตระเวนมนิลา (2487) ซึ่งผู้ประพันธ์ได้แปล(ง)คำนี้เป็นภาษาไทยกำกับไว้ในเรื่องด้วยว่า “ให้ตายห่า--ซี!”[1] (putang ina แปลตรงตัวได้ว่า [Your] mother’s a whore) หลังจากนั้นกว่าเจ็ดสิบปี คำนี้กลายเป็นข่าวเกรียวกราวในระดับโลกจนเข้าหูหรือผ่านตาของเราอีกครั้ง เมื่อประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตร์เต้ของฟิลิปปินส์สบถคำนี้ระหว่างให้สัมภาษณ์พาดพิงถึงประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงเดือนแรกๆ ที่ดูเตร์เต้เข้าดำรงตำแหน่งใน ค.ศ. 2016[2] ลำพังการคายคำหยาบของผู้นำประเทศเพียงครั้งสองครั้งก็อาจพอทำเนา แต่การณ์กลายเป็นว่าตลอดระยะเวลาหกปีในการดำรงตำแหน่ง ดูเตร์เต้ได้สถาปนาระบอบอำนาจในฟิลิปปินส์ด้วยจรรยา ภาษา และอารมณ์ในลักษณะดังกล่าวโดยต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความเกรี้ยวกราด ความทะลึ่งหยาบโลน ความตลกขบขัน การข่มขู่คุกคาม ฯลฯ ท่าทีเหล่านี้ปรากฏชัดเจนที่สุดในการดำเนินนโยบายปราบปรามยาเสพติดและสังหารผู้ต้องสงสัยว่าค้าหรือเสพยาโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม (extrajudicial killing หรือที่ภาษาไทยเรียกอย่างคลุมเครือว่า วิสามัญฆาตกรรม) ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากจนอาจถึงสามหมื่นคน และยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติแม้จะมีการวิจารณ์และเคลื่อนไหวประท้วงจากหลายภาคส่วนในสังคมฟิลิปปินส์และประชาคมโลก


 


            [1] วิตต์ สุทธเสถียร. (2487). ตระเวนมนิลา. หน้า 126.


            [2] Obama Calls Off Meeting with Philippine Leader after ‘Whore’ Jibe. (2016, September 6). BBC. (online)

Article Details

How to Cite
เจียมรัตตัญญู อ. (2023). ระบอบดูเตร์เต้: องค(ชาต)อธิปัตย์แบบศรีธนญชัยกับ “สถุลรส” ของผู้นำอำนาจนิยม. วารสารประวัติศาสตร์ มศว, 47(1), 174–183. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/177
บท
บทวิจารณ์หนังสือ

References

Alburo-Cañete, Kaira Zoe. (2022). Benevolent Discipline: Governing Affect in Post-Yolanda Disaster Reconstruction in the Philippines. Third World Quarterly. 43(3): 651-672.

Anderson, Benedict. (1998). Cacique Democracy in the Philippines. In The Spectre of Comparisons: Nationalism, Southeast Asia and the World. pp. 192-226. New York: Verso.

Bello, Walden F. (2019). Counterrevolution: The Global Rise of the Far Right. Black Point, Nova Scotia: Fernwood Publishing.

Curato, Nicole (Editor). (2017). A Duterte Reader: Critical Essays on Rodrigo Duterte’s Early Presidency. Quezon City: Bughaw.

Devilles, Gary C. (2020). Sensing Manila. Quezon City: Ateneo de Manila University Press.

Espiritu, Talitha. (2017). Passionate Revolutions: The Media and the Rise and Fall of the Marcos Regime. Athens: Ohio University Press.

Jensen, Steffen; & Hapal, Karl. (2022). Communal Intimacy and the Violence of Politics: Understanding the War on Drugs in Bagong Silang, Philippines. Ithaca: Southeast Asia Program Publications, an imprint of Cornell University Press.

Obama Calls Off Meeting with Philippine Leader after ‘Whore’ Jibe. (2016, 6 September). BBC. from https://www.bbc.com/news/world-asia-37281821.

Rafael, Vicente L. (2022). The Sovereign Trickster: Death and Laughter in the Age of Duterte. Durham: Duke University Press, 2022.

Skelchy, Russell P. (2021). Auditory and Spatial Regimes of United States Colonial Rule in Baguio, Philippines. Sound Studies. 7(2): 187-205.

Warburg, Anna Braemer; & Jensen, Steffen. (2020). Policing the War on Drugs and the Transformation of Urban Space in Manila. Environment and Planning D: Society and Space. 38(3): 399-416.

กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์. (2541). ศรีธนญชัยในอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

เมธาวี โหละสุต. (2555). อ่านไฟต์คลับในฐานะนวนิยายแห่งความอุจจาร (Abject Novel). วารสารศิลปศาสตร์. 12(2): 9-13.

วิตต์ สุทธเสถียร. (2487). ตระเวนมนิลา. พระนคร: เทพไพสาล.