กุญแจแห่งฟากฟ้า: เรขาคณิตวิเคราะห์ จากกรีกโบราณ จนถึงนิวตัน โดย ศุภวิทย์ ถาวรบุตร

Main Article Content

สิกขา สองคำชุม

บทคัดย่อ

ปัญหาการแบ่งแยกแผนการเรียนเป็น “สายวิทย์” กับ “สายศิลป์” ยังไม่ได้ถูกทำให้เป็นปัญหาในการศึกษาไทยเท่าที่ควร  ทั้งที่ปัญหาดังกล่าวได้สร้างปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความไม่ยืดหยุ่นในการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นและการค้นหาตัวเอง รวมไปถึงการสร้างค่านิยมว่าเด็กเก่งจะต้องเรียนบางสาย หรือการเรียนบางสายจะหางานง่ายกว่าและเกิดข้อจำกัดในกรณีที่พบว่า สายที่ตนเองเรียนอยู่ไม่ตอบโจทย์ในสิ่งที่ต้องการ ปัญหาดังกล่าวเองก็เผยให้เห็นในหนังสือ กุญแจแห่งฟากฟ้า เช่นเดียวกัน โดยหนังสือดังกล่าวเปิดประเด็นว่า การจะตอบคำถามว่า เซอร์ ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) คิดและเขียนผลงานทางวิทยาศาสตร์ออกมาได้อย่างไรนั้น การเข้าใจประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์จะช่วยให้เราสามารถตอบคำถามนี้ได้  ศุภวิทย์ ถาวรบุตร ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เห็นว่า คำถามดังกล่าว “เป็นด้านที่ถูกละเลยมากที่สุด แต่ในเชิงประวัติศาสตร์...เป็นเรื่องสำคัญที่น่าทำความเข้าใจมากที่สุด”  แต่คำถามดังกล่าวก็ยังอยู่นอกความสนใจของนักประวัติศาสตร์ไทยโดยส่วนใหญ่  ทั้งนี้ ศุภวิทย์มีสมมติฐานว่า ผู้เรียนประวัติศาสตร์ คือ คนที่ “ไม่เอาเลข” ทั้งที่ความรู้ของนักคิดเองก็สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้เฉกเช่นเดียวกับหลักฐานประเภทอื่นๆ

Article Details

How to Cite
สองคำชุม ส. (2023). กุญแจแห่งฟากฟ้า: เรขาคณิตวิเคราะห์ จากกรีกโบราณ จนถึงนิวตัน โดย ศุภวิทย์ ถาวรบุตร. วารสารประวัติศาสตร์ มศว, 47(1), 169–173. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JOH/article/view/176
บท
บทวิจารณ์หนังสือ

References

ศุภวิทย์ ถาวรบุตร. (2547). เรขาคณิตวิเคราะห์: กุญแจเผยวิถีแห่งฟากฟ้า (จากโคเปอร์นิคัส ถึงนิวตัน) ค.ศ.1543-1687. สารนิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภวิทย์​ ถาวรบุตร. (2561). กุญแจแห่งฟากฟ้า: เรขาคณิตวิเคราะห์ จากกรีกโบราณ จนถึงนิวตัน. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.

Forbes, Eric G. (1977). Descartes and The Birth of Analytic Geometry. Historia Mathematica. 4(2): 141-151.

Kline, Morris. (1963). Mathematics: A Cultural Approach. Massachusetts: Addison-Wesley Publishing.

Shapin, Steven. (1996). The Scientific Revolution. Chicago: University of Chicago Press.

“ย้อนดูเบื้องหลัง เรียน ม.ปลาย ทำไมต้องแยกสายวิทย์-ศิลป์?​ และถึงวันนี้ยังจำเป็นอยู่ไหม.” (Last modified 2020, 12 March). Retrieved April 11, 2022, from https://thematter.co/social/education-thai-high-school/103934.