การรับมือของสยามต่อฝรั่งเศสเหนือพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงก่อนวิกฤติปากน้ำ ค.ศ. 1893
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้จึงมุ่งสำรวจการรับมือของสยามต่อฝรั่งเศสเหนือพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงในความรับรู้ (perception) ของชนชั้นนำสยามไม่อาจรู้ถึงผลลัพธ์ของการกระทำและนโยบายต่างๆ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อวิเคราะห์เฉพาะเอกสารที่ชนชั้นนำสยามสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งคือเอกสารฝ่ายไทย เอกสารทางการทูตที่ใช้โต้ตอบกันระหว่างสยามและฝรั่งเศส และเอกสารที่เป็นสาธารณะในช่วงเวลาดังกล่าวเท่านั้น ผ่านการนำข้อวิพากษ์ของการถกเถียงปัญหาการได้หรือเสียดินแดนของสยามมาที่ฝ่ายหนึ่งมักระบุว่าสยามได้เสียดินแดนไปมากมาย และอีกฝ่ายระบุว่าสยามไม่ได้เสียดินแดนไปเลยกระทั่งได้ดินแดนมาเป็นฐานในการวิเคราะห์หลักฐานใหม่อีกครั้ง
จากการศึกษาพบว่า 1) ชนชั้นนำสยามได้วางนโยบายในการครอบครองดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงโดยรับรู้ว่าดินแดนดังกล่าวไม่ใช่ของสยามแต่เพียงผู้เดียว เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการเจรจาเขตแดนระหว่างสยามกับเวียดนาม (อาณานิคมของฝรั่งเศส) และเพื่อป้องกันไม่ให้ฝรั่งเศสใช้แม่น้ำโขงเป็นเขตแดน 2) สยามได้ใช้การเกณฑ์กำลังพล การทำแผนที่ แนวคิดเรื่องเชื้อชาติ (เพื่อสร้างพวกเราและพวกอื่น) รวมทั้งการแย่งชิงประชากรในการสร้างข้อได้เปรียบในการเจรจาเขตแดนกับฝรั่งเศส 3) สยามได้วางแผนรับมือหากต้องเกิดการสู้รบกับฝรั่งเศสที่บริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและปากแม่น้ำเจ้าพระยาโดยคาดหมายว่าจะสู้รบกับฝรั่งเศสให้ถึงที่สุด อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปตามที่สยามวางแผนไว้ ฝรั่งเศสได้ใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นตามแนวชายแดนถูกนำมาใช้ปลุกระดมให้ปารีสตัดสินใจดำเนินการยุติปัญหาขั้นเด็ดขาดกับสยาม ความผิดพลาดในการรับมือเรือรบฝรั่งเศสที่ปากน้ำและความขัดแย้งกันในราชสำนักได้นำมาสู่เหตุการณ์วิกฤติปากน้ำ ร.ศ.112 (ค.ศ.1893) ที่ทำให้สยามต้องสละการอ้างสิทธิ์เหนือฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดโดยที่ไม่ได้รบกับฝรั่งเศสดังที่วางแผนไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กต. แฟ้มที่ 2.30/1 ประพาส ที่ 289/110 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงกรมกลวงเทวะวงศ์วโรปการ ลงวันที่ 22 กรกฎาคม ร.ศ.110.
สจช. สมุดพิเศษ เล่ม 12 นาย เจมส์ แมคคาธี กราบทูล พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ลงวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ.1885, 171.
สจช. สมุดพิเศษ เล่ม 12 สำเนาการพระราชสีห์น้อยมาถึง พระยาราชวรานุกูล ณ วัน (ไม่ปรากฏวันที่) ปีวอก เบญจศกศักราช 1246, 479-781.
สจช. สมุดพิเศษ เล่ม 25 กรมหมื่นพิชิตปรีชากรกราบบังคลทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 2 9 ฯ 1 ค่ำ ปีมะแม เบญจศก ศักราช 1245, 26-31.
สจช. ป.18.1/1 กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ถึงนายปาวี ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ.111.
สจช. ฝ.18.1/2 สำเนาที่ 2/621 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงกรมหลวงพิชิตปรีชากร ลงวันที่ 22 เมษายน ร.ศ.112.
สจช. ฝ.18.1/6 ลัยที่ 32/2203 พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ 14 พฤษภาคม ร.ศ.112.
สจช. ฝ.18.1/8 นายปาวี กราบทูล กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม ร.ศ.112 (ฉบับที่ 2).
สจช. ม.59/5 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึง เจ้าพระยารัตนบดินทร์ ลงวันที่ 5 มีนาคม ร.ศ.110.
สจช. ม.59/5 สำเนาที่ 41 พระยาสุริยเดช กราบเรียนเจ้าพระยารัตนบดินพร์ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ร.ศ.109.
สจช. ม.59/6 ใบบอกที่ 39 พระยาสุริยเดช กราบเรียนพระยารัตนบดินทร์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม ร.ศ.110 และ หจช., ม.59/6 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงเจ้าพระยารัตนบดินทร์ ลงวันที่ 20 ธันวาคม ร.ศ.110.
สจช. ร.5 ฝ.18.1/1 Memorandum on the Present State of Relation between Siam and France by Prince Devawongse 21 March 1893.
สจช. ร.5 ฝ18/7 Prince Devawongse-Pavie, July 22 1893.
สจช. รัชกาลที่ 5 ฝ.18.1/4 เล่ม 1 การรบด้านแม่น้ำโขง.
สจช. สมุดพิเศษ เล่ม 12 สำเนาพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ ลงวันที่ 5 14 ฯ 1 ค่ำ ปีมะแม เบญจศก ศักราช 1245 (พ.ศ.2426).
สจช. เอกสารรัชกาลที่ 5 ฝ.11/1 ปึก 1 กรมท่าฝ่ายฝรั่งเศสเรื่อราชการเขตแดน (13 ก.ค.109-22 มิ.ย.110).
สจช. เอกสารรัชกาลที่ 5 รล. 3/32 พระบรมราโชวาทลับ (ไปรเวต) พระราชทานข้าหลวงประจำเมืองหลวงพระบาง.
F.O. 69/150, Captain Jones to Lord Rosebery, Tel. 16, 2 June 1893.
F.O. 69/158, Murray Campbell, British contractor for the Khorat railway to W. Wylde, 6 Sept. 1894.
กุลธิดา สามะพุทธิ. (2562). แก้รัฐธรรมนูญ: เพราะเหตุใดข้อเสนอแก้ไข รธน. มาตรา 1 จึงถูกมองว่าเป็นเรื่องอ่อนไหว. จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-49935471
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2565). Future: ว่าด้วยเวลา ประวัติศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระบบทุนนิยมดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ศยาม.
ไกรฤกษ์ นานา. (2554). สยามที่ไม่ทันได้เห็น. กรุงเทพฯ: โพสต์บุ๊กส์.
ไกรฤกษ์ นานา. (2556). หน้าหนึ่งในสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน.
ไกรฤกษ์ นานา. (2558). “ประเทศที่ 3” มองกรณี ร.ศ.112 ฝรั่งเศสไม่คิดยึดเมืองไทย แต่มุ่งหวังจัดตั้งสหภาพอินโดจีน”. ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 36 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2558.
จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ. (2523). วิกฤตการณ์สยาม ร.ศ.112 การเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
จา เอียน ชง. (2565). บงการอธิปไตย: การแทรกแซงจากจักรวรรดินิยมตะวันตกกับการก่อรูปของรัฐสยาม. แปลโดย ธรรมชาติ กวีอักษร และคณะ. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions
เจมส์ แมคคาร์ธี. (2561). บุกเบิกสยาม การสำรวจของพระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาร์ธี) พ.ศ.2424-2436. แปลโดย สุทธิศักดิ์ ปาลโพธิ์. กรุงเทพฯ: ริเวอร์ บุ๊ค.
โจเซฟ บัตตินเจอร์. (2522). ประวัติศาสตร์การเมืองเวียดนาม. แปลโดย เพ็ชรี สุมิตร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2555). “จินตกรรมประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยกับแผนที่เสียดินแดนจากทศวรรษ 2470 ถึง พ.ศ.2554. ใน ประมวลแผนที่: ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์-การเมืองกับลัทธิอาณานิคมในอุษาคเนย์. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, (บก.). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2552). ลัทธิชาตินิยมไทย/สยามกับกัมพูชาฯ: และกรณีศึกษาปราสาทเขาพระวิหาร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
แชน ปัจจุสานนท์. (2508). กรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสและการรบที่ปากน้ำเจ้าพระยาสมัย ร.ศ.112. พระนคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
โซฟ. (2544). สัมพันธภาพของประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสยาม พ.ศ.2223-2450. แปลโดย นันทพร บันลือสินธุ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ฐนพงศ์ ลือขจรชัย. (2565). ระบบเขตแดนรัฐจารีตและการเปลี่ยนผ่านในสยาม. ใน สยามเขตร: หลากหลายมิติเขตแดนสยาม. ฐนพงศ์ ลือขจรขัย, (บก.). กรุงเทพฯ: illumination editions.
ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. (2514). พระประวัติและงานสำคัญของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ (ภาคต้น). กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
ธงชัย วินิจจะกูล. (2556). กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ. แปลโดย พวงทอง ภวัครพันธุ์; ไอดา อรุณวงศ์; และพงษ์เลิศ พงษ์วนานต์. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ ร่วมกับ สำนักพิมพ์อ่าน.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2556). “วาทกรรมเสียดินแดน”. ใน สยามประเทศไทย: ได้ดินแดน-เสียดินแดนกับลาวและกัมพูชา. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, (บก.). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
นนทพร อยู่มั่งมี. (2564). สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) “พระสังฆราชคู่พระทัยในรัชกาลที่ 5. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม พ.ศ.2566, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article6824
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2509). การปราบฮ่อและการเสียดินแดน พ.ศ.2431. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน. (2558). ศึกษารัฐไทย วิพากษ์ไทยศึกษา. ใน ศึกษารัฐไทย ย้อนสภาวะไทยศึกษา: รวมบทความและปาฐกถาว่าด้วยการเมืองไทยสมัยใหม่.
เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน. แปลโดย ดาริน อินทร์เหมือน. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
พีรพล สงนุ้ย. (2545). กรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส ร.ศ.112 ตามหลักฐานฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: มติชน.
เพ็ญศรี ดุ๊ก. (2554). การต่างประเทศกับเอกราชและอธิปไตยของไทย (ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงสิ้นสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม). (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับแก้ไขและปรับปรุง). กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
พ็ญศรี ดุ๊ก. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย (สยาม) กับประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตามเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
แพทริค ทัก. (2543). หมาป่าฝรั่งเศสกับลูกแกะสยาม: ภัยคุกคามของฝรั่งเศสต่อความเป็นเอกราชของสยาม ปี ค.ศ.1858-1907. แปลโดย กฤษฎา สุทธานินทร์ และคณะฯ. กรุงเทพฯ: กองบัญชาการทหารสูงสุด.
มานิจ ชุมสาย, ม.ล. (2520). ชุดประวัติศาสตร์ ร.ศ.112 จากแฟ้มใต้ถุนสถานทูตไทยในปารีส. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เฉลิมนิจ.
มานิจ ชุมสาย, ม.ล. (2522). เอกสารประวัติศาสตร์ไทย เรื่องไทยปราบฮ่อ. กรุงเทพฯ: เฉลิมนิจ.
มานิจ ชุมสาย, ม.ล. (2534). ประมวลจดหมายของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ราชทูตคนแรกของไทยประจำทวีปยุโรป. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.
วรพร ภู่พงศ์พันธุ์. (2557). เวียดนามกับปฏิกิริยาต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ค.ศ. 1884-1954. ใน จักรวรรดินิยมตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้:การเข้ามาและผลกระทบ. วินัย พงศ์ศรีเพียร (หัวหน้าโครงการวิจัย). กรุงเทพฯ: โครงการวิจัย “ปริทรรศน์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (สกว.).
วราภรณ์ เรืองศรี. (2557). คาราวานและพ่อค้าทางไกล: การก่อเกิดรัฐสมัยใหม่ในภาคเหนือของไทยและดินแดนตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. เชียงใหม่: หจก. วินิดาการพิมพ์.
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี. (2556). ความเข้าใจเรื่องเขตแดนไทย-ลาว. ใน เขตแดนสยามประเทศไทยกับลาวและกัมพูชา. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, (บก.) กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2553). เบื้องลึกการเสียดินแดนและปัญหาปราสาทพระวิหารจาก ร.ศ. 112 ถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์ฯ.
เหวียนคักเวียน. (2557). เวียดนาม: ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร. แปลโดย เพ็ชรี สุมิตร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
อัครพงษ์ ค่ำคูณ. (2556). “เขตแดน พรมแดน และชายแดน ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา”.ใน เขตแดนสยามประเทศไทยกับลาวและกัมพูชา. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, (บก.). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
David Held. (1992). “The Development of the Modern States” in Formations of Modernity. Edited by Stuart Hall; and Bram Gieben. Cambridge: Polity.
David k. Wyatt. (1969). The politics of reform in Thailand: education in the reign of King Chulalongkorn. New Haven, Yale University Press.
Milton Osborne. (1975). River Road to China: the search for the source of the Mekong. London, U.K.: Allen & Unwin.
Noel A. Battye. (1974). The Military, Government and Society in Siam, 1868-1910: Politics and Military Reform during the Reign of King Chulalongkorn. Ph.D. dissertation, Cornell University.
Peter Jackson. (2010). The Ambiguities of Semicolonial Power in Thailand. in The Ambiguous Allure of the West: Traces of the Colonial in Thailand. Edited by Rachel Harrison; & Peter Jackson. Hong Kong: Hong Kong University Press.
Walter Tips. (1996). Siam’s Struggle for Survival: The Gunboat Incident at Paknam and the Franco-Siamese Treaty of October 1893. Bangkok: White Lotus.