บทบาทศูนย์วัฒนธรรมอิหร่านต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยและอิหร่าน

Main Article Content

พรพรรณ โปร่งจิตร

บทคัดย่อ

ศูนย์วัฒนธรรมทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมอิสลาม และการโฆษณาชวนเชื่อในการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศต่าง ๆ


การดำเนินงานของศูนย์วัฒนธรรมอิหร่านได้แสวงหาความร่วมมือจากทุกๆฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง มีการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศไทยด้วยเช่นกัน  เพื่อทำให้ประชาชนทั้งสองประเทศสามารถเข้าใจและรับรู้วัฒนธรรมของกันและกัน  อีกทั้งยังทำหน้าที่ปรับปรุงข้อมูลในมิติของวัฒนธรรมให้ถูกต้องและทันกับยุคสมัย มีโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับประเทศไทยมาตั้งแต่อดีต  รวมถึงการพิมพ์หนังสือไทยศึกษา แปลหนังสือทั้งด้านศิลปะ  บทกวี วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีการจัดสัมมนา นิทรรศการ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เช่น โครงการสอนภาษาเปอร์เซีย  โครงการนำภาพยนตร์ที่สะท้อนถึงสังคมและสะท้อนค่านิยมอิหร่าน มาฉายให้ชาวไทยได้รับชมเพื่อความรู้ความเข้าใจและมีสาระบันเทิง โครงการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์  เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่า วัฒนธรรมอิหร่าน  ซึ่งอิหร่านนำมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่การปฏิวัติอิหร่าน  กิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างมุสลิมไทยผู้ปฎิบัติตามแนวทางสำนักคิดชีอะห์และมุสลิมอิหร่าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอัตลักษณ์ของมุสลิมผู้ปฏิบัติตามแนวสำนักคิดชีอะห์


แต่สิ่งที่สำคัญที่ปรากฎจากการศึกษาคือ   ศูนย์วัฒนธรรมอิหร่านได้ส่งเสริมและสร้างความเข้าใจอันนี้ระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศโดยนำรูปแบบของวัฒนธรรมมาดำเนินกิจกรรมจนบรรลุเป้าหมายของประเทศได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บาร์ตส์, โรล็องค์. (2555). มายาคติ. แปลโดย Mythologies (วรรณพิมล อังคศิริสรรพ). กรุงเทพฯ : คบไฟ.

ไรน่าน อรุณรังษี. (2544). อิหร่านอู่อารยธรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์วัฒนธรรมสถานเอกอัครราชฑูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน.

อดุลย์ มานะจิตต์. (2552). อิหร่านจากจักรวรรดิสู่รัฐอิสลาม. กรุงเทพฯ : มุสลิมนิวส์.

อาลีอัศฆัร นุศรอตี. (2561). แนวคิดทางการเมืองของอิมามโคมัยนี. แปลโดย The Political Thought of Imam Khomeini (อนุชา เกียรติธารัย). กรุงเทพฯ : ออฟเซ็ทพลัส.

Moya Carey. (2010). Illustrated Encyclopedia of Islamic Atr and Architecture. United Kingdom : Anness Publishing.

Abrahamian, Ervand. (2010). ایران بین دوانقلاب(Iran between two revolution). Tehran : Amirkabir Printers Limited.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566). ที่ปรึกษา รมว.อว. หารือสถานเอกอัครราชทูตอิหร่าน ประจำประเทศไทย เพื่อยกระดับความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสองประเทศ. สืบค้นเมือ 20 กันยายน 2566, จาก https://www.mhesi.go.thBangkok events. (2566). ครบรอบการจากไป 1 ปี ชะฮีดกอเซ็ม สุไลมานี. สืบค้นเมือ 20 กันยายน 2566, จาก https://th.icro.ir/Bangkok-events

BERITA MUSLIM MAGAZINE. (2563). อิหร่าน-ไทย มิตรภาพที่ไม่รู้ลืม. สืบค้นเมือ 20 กันยายน 2566, จาก https://beritamuslimmag.com/berita-muslim/cover-story/%

Farhang. (2566). Ministry of Culture and Islamic Guidance. Retrieved September 20, 2023, from https://www.farhang.gov.ir/en/profileofministry/responsibilities