ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในอัตลักษณ์วัฒนธรรมจังหวัดน่าน

Main Article Content

ปิยะนาถ อังควาณิชกุล

บทคัดย่อ

จังหวัดน่านในอดีตเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของคนหลายกลุ่ม ดังปรากฏชื่อเมืองโบราณที่หลากหลายในเอกสารชั้นต้น สภาพภูมิศาสตร์ของเมืองน่าน เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของอาณาจักรล้านนาและอยู่ติดกับเขตแดนของอาณาจักรล้านช้าง ทำให้มีการติดต่อค้าขายและสัมพันธไมตรีกับเมืองหลวงพระบางมาตลอด การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ปรากฏหลักฐานตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 และมีการกระจายไปบนพื้นที่สูงของภาคเหนือ งานวิจัยนี้ได้ศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ลัวะ เมี่ยน ไทลื้อ ไทยวน ไทใหญ่ พื้นที่ทำการวิจัยอยู่ในบริเวณอำเภอเมือง อำเภอท่าวังผา และอำเภอปัว จังหวัดน่าน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยมี 2 ประการ คือเพื่อศึกษาอิทธิพลของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฏในอัตลักษณ์วัฒนธรรมจังหวัดน่าน และเพื่อศึกษาการผสมผสานทางวัฒนธรรมในอัตลักษณ์วัฒนธรรมจังหวัดน่าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2530). ลัวะเมืองน่าน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

เชียงใหม่นิวส์. (2565). สัมผัสดอยสกาดผ่านประเพณีกินสโลด. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565, จากhttps://www.chiangmainews.co.th/100lanna/2265708/

ฐาปนีย์ เครือระยา. (2563). ลัวะ. ใน สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อวันที่

มีนาคม 2565. .....................

ณัชชา เลาหศิรินาถ. (2541). สิบสองพันนา: รัฐจารีต. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

บ้านป่ากำ บ่อเกลือ จังหวัดน่าน. (2563). สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565, จาก https://th.readme.me/p/31407

ปั่น รกไพร และเฉลิม รกไพร. (2546). นิทานลัวะ เรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์จากชาวลัวะเมืองน่าน. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล และภัททิยา ยิมเรวัต เรียบเรียงเป็นภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยะนาถ อังควาณิชกุล. (2560). การศึกษาสถานภาพและวิถีชีวิตสตรีไทยภาคเหนือจากงานบันทึกและจิตรกรรมในล้านนา. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ด. (ศิลปวัฒนธรรม). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประชุมพงษาวดารภาคที่ ๑๐ เรื่องราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน. (2461). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

ภัททิยา ยิมเรวัต และ คุณหญิงสุริยา รัตนกุล. (2541). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ. นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์. (2557). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว อำเภอปัว จังหวัดน่าน. ใน วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน. 5 (1) : 29-42.

รัตนาพร เศรษฐกุล. (2538). ชาวไทลื้อในจังหวัดน่าน. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยพายัพ.

สมหมาย เปรมจิตต์ และวสันต์ ปัญญาแก้ว. (2558). ตำนานเมืองลื้อ ประวัติศาสตร์พื้นถิ่น แดนดิน เชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองสิงห์. เชียงใหม่: โครงการล้านนาคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2561). ประวัติศาสตร์ล้านนา ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์.

สรัสวดี อ๋องสกุล ผู้ปริวรรต. (2561). พื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน. (2565). มหกรรมวัฒนธรรมอิ้วเมี่ยนสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2565.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน. (2555). ผ้าพื้นเมืองน่าน. เชียงใหม่: แม็กซ์พริ้นติ้ง.

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค.วัยอาจ. (2543). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์มบุคส์.