บทบาททางเศรษฐกิจของคนเชื้อสายจีนในเมืองร้อยเอ็ด ทศวรรษ 2470-2530

Main Article Content

พีรวัฒน์ พูนสวัสดิ์พงศ์

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาบทบาททางเศรษฐกิจของคนเชื้อสายจีนในเมืองร้อยเอ็ด ระหว่างทศวรรษ 2470 ถึงทศวรรษ 2530 โดยต้องการชี้ให้เห็นสัมพันธภาพทางเศรษฐกิจระหว่างคนเชื้อสายจีนกับคนท้องถิ่น ความสำคัญของคนเชื้อสายจีนในฐานะพ่อค้าหรือนักธุรกิจ และความเปลี่ยนแปลงของเมืองอันเนื่องมาจากคนเชื้อสายจีน เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ทำให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นหนึ่งในจุดหมายของชาวจีนอพยพ การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพไปสู่ระบบทุนนิยม การเคลื่อนที่ของย่านการค้า การนำอาชีพสมัยใหม่เข้าสู่ร้อยเอ็ด ปัจจัยสู่ความสำเร็จทางธุรกิจของคนเชื้อสายจีน เป็นต้น ผลจากการศึกษาพบว่า ร้อยเอ็ดมีความเหมาะสมหลายประการสำหรับการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนอพยพหลังการสร้างทางรถไฟเข้าสู่ภาคอีสาน คนเชื้อสายจีนกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของเมืองร้อยเอ็ดเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบทุนนิยมโดยการรับหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางผู้เชื่อมต่อเศรษฐกิจระหว่างเมืองกับชนบท นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มประกอบอาชีพสมัยใหม่หลายอาชีพ ชุมชนชาวจีนจึงกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเมืองมาโดยตลอด ในขณะที่กลุ่มคนเชื้อสายจีนก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองร้อยเอ็ด โดยอาศัยกลยุทธ์ทางการค้า ความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนเชื้อสายจีนกับคนท้องถิ่น ผลจากนโยบายบางประการของรัฐบาล และความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในกลุ่มคนเชื้อสายจีนซึ่งมีส่วนช่วยในการสนับสนุนธุรกิจการค้าซึ่งกันและกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2541). เมืองร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2547). ปกิณกวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์. (2546). อีสานเมื่อวันวาน. กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์.

ขัติยวงษา, พระยา. (2472). พงศาวดารภาคอีสาน ฉะบับของ พระยาขัติยวงษา (เหลา ณร้อยเอ็จ). พระนคร: โรงพิมพ์ศรีหงส์.

จังหวัดร้อยเอ็ด. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2540). เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

ธนาคารกรุงเทพ. (2535). 1,000 ล้าน สาขาร้อยเอ็ด. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2541). สถิติการเงินการธนาคารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2540. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร; และ คริส เบเคอร์. (2542). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: ตรัสวิน (ซิลค์เวอร์บุคส์).

พิภู บุษบก. (2560). พัฒนาการของกลุ่มทุนจีนในภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย ค.ศ.1931-2016 (พ.ศ.2474-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เมธา คำบุศย์. (2553). คุ้มต่างๆในเขตกำแพงเมืองร้อยเอ็ด. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

วีระ วุฒิจำนงค์. (2537). ประวัติ ก๋งเช็งเหียน-คุณย่าหล้าจั่น อิฐรัตน์. ร้อยเอ็ด: ดาวร้อยเอ็ดการพิมพ์.

สำนักงานเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. (2542). สรุปผลการปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณ 2539-2542. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สุวิทย์ ธีรศาสวัต. (2558). ผลกระทบของทางรถไฟในอีสานใต้ (พ.ศ.2443-2503). ใน เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต. สุริยา รักการศิลป์ (บก.). หน้า 19-56. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

อินแกรม, เจมส์ ซี. (2552). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในประเทศไทย 1850-1970. แปลโดย ชูศรี มณีพฤกษ์; และ เฉลิมพจน์ เอี่ยมกมลา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.

ที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ คุณตาศิริ วุฒิจำนงค์. (2543). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายประพจน์ สุขเสถียร. (2545). ร้อยเอ็ด: รัตนกิจการพิมพ์.

ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายถวิล จุรีมาศ. (2556). ร้อยเอ็ด: ทันใจการพิมพ์.

ที่ระลึกพิธีบรรจุศพ เตี่ยคุงเจ็ง แซ่ก๊วย. (2550). ขอนแก่น: รัตน.

อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ คุณพ่อพงษ์ เจษฎาพรพันธุ์. (2540). กรุงเทพฯ: แชท โฟร์ พริ้นติ้ง.

อนุสรณ์งานบรรจุศพ คุณแม่ทองเจิม สุวรรณชาติ. (2547). ร้อยเอ็ด: ทันใจการพิมพ์.

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณพ่อเตียงเส็ง แซ่ปึง. (2548). ร้อยเอ็ด: รัตนกิจการพิมพ์.

อนุสรณ์ที่ระลึกงานบรรจุศพ คุณพ่อบักแซ แซ่อึ้ง. (2555). ร้อยเอ็ด: ทันใจการพิมพ์.

อนุสรณ์ที่ระลึกงานบรรจุศพ คุณแม่เฮียะ แซ่ก๊วย. (2555). ขอนแก่น: รัตน.

ธานี พันแสง. (2544). บทบาทด้านเศรษฐกิจและการเมืองของชาวจีนในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด พ.ศ.2398 ถึง พ.ศ.2540. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สังคม ค้อชากุล. (2543). การขยายตัวของชุมชนเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดระหว่างปี พ.ศ.2480-2541. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีระ วุฒิจำนงค์. (2562, 5 กรกฎาคม). สัมภาษณ์โดย พีรวัฒน์ พูนสวัสดิ์พงศ์, ที่ร้านวีระเภสัช บ้านเลขที่ 271-3-5 ถนนผดุงพานิช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด.

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด-ธนบุรี. (2564). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.roietthonburi.com/sub.php?m=1&sm=110