นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนมูลค่าสูงในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • อุมาวดี เดชธำรงค์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ดาศรินทร์พัชร์ สุธรรมดี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • สามารถ สินทร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

DOI:

https://doi.org/10.14456/ajld.2025.2

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ไก่พื้นเมือง, เศรษฐกิจหมุนเวียนมูลค่าสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนมูลค่าสูง 2) ศึกษากระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนมูลค่าสูง เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และใช้วิธีเชิงปริมาณเพื่อประเมินความพึงพอใจและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองตำบลส้มป่อย จำนวน 50 คน ใช้วิธีการตัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา 

          ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์การเลี้ยงไก่พื้นเมืองในพื้นที่ พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไก่พื้นเมืองส้มป่อย 1 มีจำนวนสมาชิก 50 ราย เงื่อนไขให้สมาชิกทุกคนปรับปรุงคอกไก่ให้ได้มาตรฐานและสมัครเข้ารับการรับรองฟาร์มที่มีระบบป้องกันและการเลี้ยงดูสัตว์ที่เหมาะสม หรือ GFM สมาชิกทุกคนต้องฉีดวัคซีนให้ไก่ทุกๆ 3 เดือนโดยปศุสัตว์อำเภอจัตุรัสจะสนับสนุนวัคซีน อีกทั้งสมาชิกต้องจัดหาแม่ไก่ที่มีลักษณะดีเข้ามาเลี้ยง 10-20 ตัว เพื่อผลิตลูกไก่น้ำหนัก 1.2-1.5 กิโลกรัมเพื่อจำหน่าย จัดทำคอกกลางเพื่อรวบรวมไก่จากสมาชิกนำส่งตลาดจำหน่าย โดยจะรวบรวมไก่ส่งตลาดตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 2) กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไก่พื้นเมือง ดำเนินการโดยจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนมูลค่าสูง โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์ทั้งเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปศุสัตว์อำเภอจัตุรัส ผู้อำนวยการสอนเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านใหม่นาดี เจ้าของฟาร์มอุ่นกายอำเภอหนองบัวแดง นักปฏิบัติ และผู้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเชิงธุรกิจ องค์ความรู้ที่ถ่ายทอด ได้แก่  ผลิตภัณฑ์ไก่อบโอ่งสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ไก่ฝอย และผลิตภัณฑ์ไก่สับพร้อมปรุง

References

จิโรจน์ ตั้งสกุล. (2547). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน: ศึกษากรณีเครื่องทองลงหินชุมชนประดิษฐ์โทรสาร เขตจัตุจักร กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี. (2564). คู่มือพัฒนาไก่พื้นเมือง อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี, และคณะ. (2559). การเพาะเลี้ยงและพัฒนาไก่ชนเพื่อการพาณิชย์ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ณัฐพงศ์ พัชรไพลิน. (2565). การบรรยายถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการตลาดไก่พื้นเมืองในจังหวัดชัยภูมิ. ปศุสัตว์อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ.

ประมุข ศรีชัยวงษ์. (2563). การบรรยายถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงและพัฒนาไก่พื้นเมือง. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

มาริสา โกเศยะโยธิน. (2546). องค์ความรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทำนาข้าวด้วยวิธีเกษตรธรรมชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อเนก วารีรักษ์. (2545). การดำเนินงานของธุรกิจไก่พันธุ์พื้นเมืองลูกผสมในเขตอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ (รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ บธ.ม.). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัษฐพล ปริยวงศ์สกุล. (2542). ธุรกิจเลี้ยงไก่พื้นเมือง: กรณีศึกษาบ้านหนองโข่ย ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ บธ.ม.). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2566–2567. http://www.osmnortheast-s2.moi.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-11

How to Cite

สุธรรมดี ฉ. ., เดชธำรงค์ อ. ., สุธรรมดี ด. ., & สินทร ส. . (2025). นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนมูลค่าสูงในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น, 4(1), 13–26. https://doi.org/10.14456/ajld.2025.2