การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโพธิ์น้อย
DOI:
https://doi.org/10.14456/ajld.2022.10คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, พระพุทธศาสนา, แบบฝึกทักษะบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยวิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย จำนวนนักเรียน 12 คน เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโพธิ์น้อย เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์แบบทดสอบระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนและแบบฝึกทักษะ เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยใช้แบบฝึกทักษะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจทางการเรียน เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโพธิ์น้อย
การวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือการวิจัย 4 ประเภท คือ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 4 แผน แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แบบฝึกทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น 2) สถิติการเปรียบเทียบใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test Dependent 3) สถิติการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาโดยใช้เกณฑ์ E1/E2 ในการวิเคราะห์ข้อมูล
References
กรมวิชาการ. (2557). ครูผู้สอนกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จตุพ เจริญชัย. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ในรายวิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชูชีพ อ่อนโคกสูง. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ (Theory of Learning) Gilgerdson Lanfon [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิศนา แขมมณี. (2558). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางผลการใช้แบบฝึกทักษะ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
นภาวรรณ ประดับคำ. (2558). ผลการใช้แบบฝึกทักษะในกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2558). วิธีการศึกษาสถิติเพื่อการวิจัยแบบฝึก เล่ม 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาสารคาม.
ปอเรียม แสงชาลี. (2559). ผลการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนตามรูปแบบแบบฝึกทักษะและกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบของ สสวท ที่มีผลต่อการเรียนรู้ตามแบบแผนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2559).วิธีปฏิบัติการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวคิดวิธีและเทคนิคการสอนของครู. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่บริษัทเดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์ จำกัด.
มาลี จุฑา. (2559). ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning) De Cecco & Crawford. Skills exercises in education [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
วราภรณ์ แตงมีแสง. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้แบบฝึกทักษะในวิชาการบริหารการศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วารินทร์ รัศมีพรหม. (2560). ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning) De Cecco & Crawford [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนินทร เลี่ยมแก้ว. (2560). ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning) De Cecco & Crawford [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อดิศร ศิริ. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับวิชาสังคมศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นภดล จันทร์เพ็ญ. (2561). การใช้หลักสูตรแกนกลางเพื่อการสอนสังคมศึกษาด้วยแบบฝึกทักษะ. กรุงเทพฯ: แสงศิลป์การพิมพ์.
ประเทิน มหาขัน. (2562). การสอนแบบ Active Learning เบื้องต้นและการสร้างเอกสารประกอบการเรียนวิชาสังคมศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: โอเดียนสโตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.