การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องดาวในระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้สื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขวาวคุรุประชาสรรค์
DOI:
https://doi.org/10.14456/ajld.2022.7คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ระบบสุริยะ, สื่อประสมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องดาวในระบบสุริยะ โดยใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน เรื่องดาวในระบบสุริยะ โดยใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องดาวในระบบสุริยะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจทางการเรียนเรื่องดาวในระบบสุริยะ โดยใช้สื่อประสม ของนักเรียชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 6 คน เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขวาวคุรุประชาสรรค์
การวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือการวิจัย 5 ประเภท คือ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 4 แผน แบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกทักษะ สื่อการสอน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น 2) สถิติการเปรียบเทียบใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test Dependent 3) สถิติการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ และดัชนีประสิทธิผลใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องดาวในระบบสุริยะโดยใช้สื่อประสม ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.67 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนด้วยสื่อประสมเท่ากับ 18.67 คะแนนเฉลี่ยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนมีพัฒนาการแตกต่างกันที่ 9.50 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยสื่อประสมที่สร้าง สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที .05 3) สื่อประสมกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่องดาวในระบบสุริยะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 93.33/95.83 4) นักเรียนประถมศึกษาปีที่มีความพึงพอใจในการเรียน ด้วยสื่อประสมที่สร้างในระดับดีมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
ก่อ สวัสดิพาณิชย์. (2541). แนวการสอนภาษาไทย คู่มือภาษาไทย. กรุงเทพฯ: เอกสารนิเทศการศึกษา กรมการฝึกหัดครู.
ถวัลย์มาศจรัส. (2546). นวัตกรรมการศึกษาชุด แบบฝึกหัด–แบบฝึกเสริมทักษะ เพื่อพัฒนาผู้เรียนและการจัดทำ ผลงานทางวิชาการอาจารย์3 (ครูชำนาญการครูเชี่ยวชาญและครูเชี่ยวชาญพิเศษ และบุคลากร ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธารอักษร.
นิภา เล็กบำรุง. (2518). พฤติกรรมการสอนของครูระดับประถมศึกษา ในจังหวัดสมุทรสาครเกี่ยวกับการกำหนด งานให้นักเรียนและการทบทวนเมื่อเรียนจบ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2537). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุริยาสาส์น.
ไพศาล หวังพานิช. (2523). การจัดการผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมอาชีวศึกษา.
รัชนี ศรีไพพรรณ. (2543). หน่วยที่ 3 สื่อการสอนกลุ่มทักษะภาษาไทย เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2536). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแอนทีเพลส จำกัด.
วรนารถ พ่วงสุวรรณ. (2518). การสร้างแบบฝึกสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
วรสุดา บุญยไวโรจน์. (2536). การพัฒนาทักษะในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
กฤติวรรณ รอบคอบ. (2553). ผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ถนอมพร (ตันติพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2551). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโส.ทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล หวังพานิช. (2551).การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร.์ กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาวิบูรณ์ โชติศิริรัตน์. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ มีภาพประกอบ แบบภาพนิ่ง และแบบภาพเคลื่อนไหว. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
วัดวังรี บุญเลิศ. (2552). รายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ฝ่ายวิชาการ: โรงเรียนวัดวังรีบุญเลิศ.
อรุณการพิมพ์. ขนิษฐา ชานนท์. (2552). เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ยูไนเต็ด โปรดักชั่น.
เต็มดวง เศวตจินดา. (2549). คู่มือการพัฒนาและการใช้สื่อประสม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.