การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำในภาษาไทยในแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองฮาง
DOI:
https://doi.org/10.14456/ajld.2023.10คำสำคัญ:
การพัฒนา, ทักษะการอ่านออกเสียง, การเขียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำในภาษาไทยในแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองฮาง เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำในภาษาไทยในแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองฮาง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านออกเสียงและการเขียนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจทางการเรียนเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำในภาษาไทยในแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองฮาง มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 8 คน เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองฮาง
การวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือการวิจัย 4 ประเภท คือ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผนแบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1) สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น 2) สถิติการเปรียบเทียบใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test Dependent 3) สถิติการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ โดยใช้เกณฑ์ E1/E2 ในการวิเคราะห์ข้อมูล 4) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจ ได้แก่ x̄, S.D
References
กรมวิชาการ. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กรรณิการ์ พวงเกษม. (2533). ปัญหาและวิธีการสอนภาษาไทยโรงเรียนประถม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คมขำ แสนกล้า. (2547).การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำวิชาภาษาไทย [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฉวีลักษณ์ บุญกาญจน. (2547). จิตวิทยาการอ่าน. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2545). การอ่านในการส่งเสริมการอ่าน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โสภณการพิมพ์.
ฐานิยา อมรพลัง. (2548). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้หลักภาษาไทย เรื่องไตรยางค์ด้วยแบบฝึกเกมและเพลงสำหรับนักเรียน [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ถวัลย์ มาศจรัส และคณะ. (2550). แบบฝึกหัดแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ผู้เรียนและการจัดทำผลงานวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ทานอักษร.
ทองคูณ หนองพร้าว. (2547). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องจังหวัดของเรา(บุรีรัมย์) [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นงเยาว์ เลี่ยมขุนทด.(2547). การพัฒนาแผนการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำโดยใช้แผนผังความคิด [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิรันดร์ สุขปรีดดี. (2540). การศึกษาอัตราความเร็วและความเข้าใจในการอ่านของนักเรียน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิลวรรณ อัคติ. (2548). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การผันวรรณยุกต์โดยใช้แบบฝึกทักษะ [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บรรจง จันทร์พันธ์. (2548). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประทีป วาทิกทินกร. (2542). ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประวีณา เอ็นดู. (2547). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำโดยใช้แบบฝึกทักษะ [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พนมวัน วรดลย์. (2542). การสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียน [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พินิจ จันทร์ซ้าย. (2546). การสร้างหนังสือและแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เรื่องบุญผะเหวดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา.
ไพฑูลย์ มูลดี. (2546). การพัฒนาแผนและแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มนทิรา ภักดีณรงค์. (2540). การศึกษาแบบฝึกเสริมทักษะกิจกรรมขั้นตอนที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง ยังไม่สายเกินไป วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.