การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
DOI:
https://doi.org/10.14456/ajld.2022.1คำสำคัญ:
การศึกษาผลสัมฤทธิ์, ทางการเรียน, ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนเรื่องการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านและการเขียน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจทางการเรียนเรื่อง การอ่านและการเขียน โดยใช้ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน ของของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 9 คน เป็นนักเรียนชั้น 2 โรงเรียนบ้านบก(วงศ์ทีประชาราษฎร์สามัคคี)การวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือการวิจัย 4 ประเภท คือ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผนแบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น 2) สถิติการเปรียบเทียบใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยพบว่า1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น 2.การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนเรื่องการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่ามีผลการเรียนที่สูงขึ้น 3.เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด4.ระดับความพึงพอใจทางการเรียนเรื่องการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่านักเรียนให้ความสนเป็นอย่างมาก
References
ถวัลย์ มาศจรัส. (2546). นวัตกรรมการศึกษา ชุดแบบฝึกหัดแบบฝึกเสริมทักษะ. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
ธรัญญา นาคหอม. (2545). การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเองวิชาภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นันทนา เจริญสุข. (2549). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือSTAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ไพเราะ วุฒิเจริญกุล. (2540). การพัฒนาแบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนภาษาไทยเพื่อจับใจความชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษามหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุพัตรา พร้อมดิษฐ์. (2546). ผลของการใช้นิทานพื้นบ้านจังหวัดจันทบุรีที่มีต่อการอ่านและการเขียนจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุภนา เอี่ยมสะอาด. (2547). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเทนมีย จังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรีย์มาศ บุญฤทธิ์รุ่งโรจน์. (2544). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.