กลไกและรูปแบบการจัดการเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน: กรณีสตรองโมเดล

ผู้แต่ง

  • Nattapat Sarobol Thammasat University
  • ธัญญาภรณ์ จันทรเวช

บทคัดย่อ

สตรองโมเดลเป็นรูปแบบของเครือข่ายการเสริมพลังและจัดการความรู้เพื่อจัดบริการผู้สูงอายุในชุมชนที่มีทีมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำงานเป็นหลัก โครงการฯ ออกแบบขึ้นจากสถานการณ์ที่สังคมไทยต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความซับซ้อนและการพึ่งพิงของผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น จากการดำเนินโครงการตลอด 3 ปี เกิดรูปแบบนวัตกรรมการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพเหมาะกับเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น เช่นนี้แล้ว งานชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกลไกและรูปแบบการทำงานของสตรองโมเดลที่สามารถสนับสนุนเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 39 แห่งนี้และเสนอแนะแนวทางจัดบริการสำหรับนักบริหารจัดการสังคมสูงวัย วิธีการศึกษามาจากการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ผ่านการประยุกต์ใช้สตรองโมเดล การสัมภาษณ์นักบริหารจัดการสังคมสูงวัย และศึกษาจากเอกสารของเครือข่าย 39 แห่ง การศึกษาพบว่า กลไกสำคัญในการจัดการเครือข่าย คือ 1) กลไกการพัฒนาศักยภาพ “คน” 2) กลไกการสนับสนุนเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยน และเสริมพลัง และ 3) กลไกการจัดการความรู้และบริหารกลยุทธ์ ทั้ง 3 กลไกถูกนำไปปฏิบัติในรูปแบบของเครือข่ายแบ่งได้เป็น 3 ทีม คือ ทีมแกนกลาง ทีมวิชาการ และทีมบริหารกลยุทธ์ มีบทบาทและตำแหน่งแห่งที่ต่าง ๆ กันและทำงานประสานเชื่อมโยงเพื่อสนับสนุนและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ของบริบทความเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน ขณะที่แนวทางการจัดบริการที่มีประสิทธิภาพมาจากปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1.การฝึกอบรมเฉพาะทาง 2.การใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย 3.การสนับสนุนซึ่งกันและกันแบบไม่เป็นทางการ 4.การดูแลแบบบูรณาการบนพื้นฐานชุมชน ข้อเสนอแนะ คือ ควรสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงลึกพร้อมผลักดันให้แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผลิตนักบริหารจัดการสังคมสูงวัย และควรพัฒนาการทำงานแบบบูรณาการการดูแลในชุมชน รวมถึงแสวงหาความร่วมมือจากภาคเอกชนและธุรกิจเพื่อสังคมเพื่อพัฒนาการจัดบริการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

 

คำสำคัญ:     กลไก, รูปแบบการจัดการเครือข่าย, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การจัดบริการผู้สูงอายุ

 

 

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2567). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2542). ประชารัฐกับการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา.

ณัฏฐพัชร สโรบล และกฤษณา พลภักดี (2568). การดำเนินงานศูนย์ดูแลผู้สูงอายุช่วงกลางวันแบบเช้าไปเย็นกลับ (Thapma Day Care Center). (พิมพ์ครั้งที่ 2). ระยอง : เทศบาลตำบลทับมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

ณัฏฐพัชร สโรบล และกฤษณา พลภักดี. (2567). Happy Oldie and Family Innovation นวัตกรรมการบูรณาการบริการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน. ลพบุรี : เทศบาลตำบลเขาพระงาม

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

ณัฏฐพัชร สโรบล, วรรณลักษณ์ เมียนเกิด และธัญญาภรณ์ จันทรเวช. (2566). ถอดรหัส ไขกุญแจ ศูนย์ชุมชนสำหรับคนทุกวัย (STRONG Community Center) ภายใต้แนวคิด "สังคมสูงวัย หัวใจสตรอง". ปทุมธานี : เทศบาลเมืองบึงยี่โถ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

ธัญญาภรณ์ จันทรเวช, วรรณลักษณ์ เมียนเกิด และณัฏฐพัชร สโรบล. (2566). เปลี่ยนร่าง “ปฐมภูมิ” สู่ “บริการชั้นนำ” ก้าวที่ไม่หยุดของสถานีอนามัยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา ศูนย์การแพทย์และฟื้นฟู บึงยี่โถ. ปทุมธานี : เทศบาลเมืองบึงยี่โถ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

วรรณลักษณ์ เมียนเกิด, ณัฏฐพัชร สโรบล และธัญญาภรณ์ จันทรเวช. (2566). บทพิสูจน์ "ความเป็นต้นแบบ" ศูนย์ดูแลช่วงกลางวันที่ "แคร์" ผู้สูงอายุ. ปทุมธานี : เทศบาลเมืองบึงยี่โถ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และณัฏฐพัชร สโรบล. (2568). บทบาทที่พึงประสงค์ของท้องถิ่นต่อการจัดบริการสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนภายใต้แนวคิดการสูงวัยในถิ่นที่อยู่. กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2546). การบริหารราชการแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

Andersson, G., & Karlberg, I. (2000). Integrated care for the elderly: The background and effects of the reform of Swedish care of the elderly. International Journal of Integrated Care, 1. Retrieved from https://www.ijic.org/

Bickman, L. (1987). The functions of program theory. New Directions for Program Evaluation, 33, 5-18. https://doi.org/10.1002/ev.1443

Curry, N., Castle-Clarke, S., & Hemmings, N. (2018). What can England learn from the long-term care system in Japan? London: Nuffield Trust.

Eniola, E. O., Johnson, O. W., Olabiyi, W. O., William, B. T., & Enoch, O. O. (2024). Networking and Collaboration: Building Success in the Modern Economy.

Henderson, P., & Vercseg, I. (2010). Mutual support and solidarity. In Community Development and Civil Society: Making Connections in the European Context. (pp. 119–134). Bristol University Press.

Lynch, D., Lathouras, A., & Forde, C. (2021). Community development and social work teaching and learning in a time of global interruption. Community Development Journal, 56(4), 566–586. https://doi.org/10.1093/cdj/bsab028

Rossi, P. H., Lipsey, M. W., & Henry, G. T. (2004). Evaluation: A systematic approach (7th ed.). Sage publications.

Thompson, L. E., & Hess, H. J. (1989). The integration of primary health care and social work in the educational setting. In M. L. Henk (Ed.), Social work in primary care (pp. 31-54). Newbury Park, CA: SAGE Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30

How to Cite

Sarobol, N., & จันทรเวช ธ. . (2025). กลไกและรูปแบบการจัดการเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน: กรณีสตรองโมเดล. วารสารสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย, 1(1). สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SWPCTH/article/view/1729