https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SWPCTH/issue/feed วารสารสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย 2025-04-30T00:00:00+07:00 Associate Prof. Puchong Senanuch, Ph.D psenanuch@yahoo.com Open Journal Systems <p>วารสารสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย เป็นวารสารวิชาการของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรมด้านสังคมสงเคราะห์ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสังคมสงเคราะห์ให้กับนักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการ นักศึกษา และผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ</p> <p>วารสารฯ รับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ สมาชิกสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ 4 ประเภท ได้แก่ สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ สมาชิกสมทบ สมาชิกกิตติมศักดิ์ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ และผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศ</p> <p>กระบวนการพิจารณาบทความ : บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</p> <p>ประเภทของบทความ : บทความวิชาการ บทความวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ</p> <p>ภาษาที่รับตีพิมพ์ : ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ</p> <p>กำหนดการตีพิมพ์วารสาร : วารสารตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ดังนี้</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน</p> <p> ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม</p> <p> ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม</p> <p>จำนวนบทความที่ตีพิมพ์: ไม่เกิน 6 เรื่องต่อฉบับ</p> <p>เจ้าของวารสาร : สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์</p> <p>การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ :</p> <p>ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ เฉพาะปีที่ 1 ฉบับที่ 1-3 และปีที่ 2 ฉบับที่ 1-3</p> <p>โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ บทความละ 2,000 บาท ตั้งแต่ปีที่ 3 ฉบับที่ 1-3 เป็นต้นไป สำหรับสมาชิกสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ บทความละ 1,800 บาท</p> https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SWPCTH/article/view/1120 The Women’s Role on Domestic Violence in Southern Border Provinces, Thailand 2025-04-04T11:47:12+07:00 KANLAYA DARAHA dkallaya2500@gmail.com <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The domestic violence occurs all over the world, in Asia, Thailand and in the Southern Border Provinces in the past until now. The Objective of the study aims to investigate the women’s role on Domestic Violence in Southern Border Provinces, Thailand. The Domestic Violence affected the victim women in physical health and mental health by their husbands’ verbal and their husbands’ actions because of the husbands’ drug addiction, the social norms and the patriarchy. The study utilized qualitative method during January–November 2023. The community recommended, that included two Imams, three Muslimah victims and seven Muslimah in Counseling Women’s Room or Muslimah’s Women Club¹ in Southern Border Provinces, Thailand. The findings revealed that it has the counselors those were the women in Muslimah’s women club to consult, empower and voice for the victim women affected the Domestic Violence and they proposed it should have the Khut’bah² for the males for look after the females and it should have the Counseling Room or the Muslimah’s Women Club every provinces in the Southern Border Provinces of Thailand for conduct well-being victim women forever.</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SWPCTH/article/view/1323 Realizing Accessibility in Thailand: Make the Right Real, Lifelong Education, and Decent Work for Persons with Mobility Disabilities 2025-04-04T11:52:29+07:00 Samrit Chapirom samrit.apr@gmail.com Chokchai Suttawet samrit.apr@gmail.com Jaturong Boonyarattanasoontorn samrit.apr@gmail.com David Engstrom samrit.apr@gmail.com <p>This Mixed-Methods research aims two objectives: (1) to identify systemic barriers that hinder Persons with Mobility or Physical Disabilities (PMDs) in Thailand from accessing Lifelong Education (LE) and Decent Work (DW); and (2) to propose a scalable framework integrating Universal Design and AI-driven technologies, such as NiNA1479, to address these challenges. The study aligns with global frameworks like the CRPD, SDGs, and Thailand's “Make the Right Real” initiative, ensuring a robust integration of local and international perspectives. Quantitative data from 400 PMDs aged 15 and above revealed significant disparities in satisfaction with LE (mean: 3.11) and DW (mean: 3.41), driven by income (F(5, 394) = 6.20, p &lt; .001) and education levels (F(6, 393) = 3.97, p &lt; .001). Qualitative insights from 18 stakeholder organizations across nine sectors, including policymakers, educators, and employers, highlighted systemic challenges such as weak law enforcement, insufficient adaptive technologies, and infrastructure gaps, particularly in rural areas. These findings underscore the critical need for targeted interventions. The proposed NiNA1479 Framework leverages Universal Design principles and AI-driven tools to bridge accessibility gaps. It integrates adaptive learning platforms, AI-powered job-matching systems, and universal workplace accommodations, addressing Thailand’s urban-rural disparities. Drawing on global best practices—Finland’s educational inclusivity, Japan’s employment quotas, Germany’s AI-driven inclusion tools, Australia’s adaptive technology subsidies, South Korea’s smart urban planning, the U.S.’s ADA enforcement, and Singapore’s digital infrastructure—the framework fosters sustainable accessibility. Recommendations include stronger enforcement of CRPD-aligned policies, public-private collaborations, and investments in assistive technologies. By addressing these barriers, this research provides a transformative roadmap to empower PMDs, aligning Thailand with international standards and setting a benchmark for inclusive development.</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SWPCTH/article/view/1729 กลไกและรูปแบบการจัดการเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน: กรณีสตรองโมเดล 2025-04-09T09:34:01+07:00 Nattapat Sarobol familypooh@hotmail.com ธัญญาภรณ์ จันทรเวช thanyachantu@gmail.com <p>สตรองโมเดลเป็นรูปแบบของเครือข่ายการเสริมพลังและจัดการความรู้เพื่อจัดบริการผู้สูงอายุในชุมชนที่มีทีมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำงานเป็นหลัก โครงการฯ ออกแบบขึ้นจากสถานการณ์ที่สังคมไทยต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความซับซ้อนและการพึ่งพิงของผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น จากการดำเนินโครงการตลอด 3 ปี เกิดรูปแบบนวัตกรรมการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพเหมาะกับเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น เช่นนี้แล้ว งานชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกลไกและรูปแบบการทำงานของสตรองโมเดลที่สามารถสนับสนุนเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 39 แห่งนี้และเสนอแนะแนวทางจัดบริการสำหรับนักบริหารจัดการสังคมสูงวัย วิธีการศึกษามาจากการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ผ่านการประยุกต์ใช้สตรองโมเดล การสัมภาษณ์นักบริหารจัดการสังคมสูงวัย และศึกษาจากเอกสารของเครือข่าย 39 แห่ง การศึกษาพบว่า กลไกสำคัญในการจัดการเครือข่าย คือ 1) กลไกการพัฒนาศักยภาพ “คน” 2) กลไกการสนับสนุนเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยน และเสริมพลัง และ 3) กลไกการจัดการความรู้และบริหารกลยุทธ์ ทั้ง 3 กลไกถูกนำไปปฏิบัติในรูปแบบของเครือข่ายแบ่งได้เป็น 3 ทีม คือ ทีมแกนกลาง ทีมวิชาการ และทีมบริหารกลยุทธ์ มีบทบาทและตำแหน่งแห่งที่ต่าง ๆ กันและทำงานประสานเชื่อมโยงเพื่อสนับสนุนและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ของบริบทความเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน ขณะที่แนวทางการจัดบริการที่มีประสิทธิภาพมาจากปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1.การฝึกอบรมเฉพาะทาง 2.การใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย 3.การสนับสนุนซึ่งกันและกันแบบไม่เป็นทางการ 4.การดูแลแบบบูรณาการบนพื้นฐานชุมชน ข้อเสนอแนะ คือ ควรสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงลึกพร้อมผลักดันให้แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผลิตนักบริหารจัดการสังคมสูงวัย และควรพัฒนาการทำงานแบบบูรณาการการดูแลในชุมชน รวมถึงแสวงหาความร่วมมือจากภาคเอกชนและธุรกิจเพื่อสังคมเพื่อพัฒนาการจัดบริการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; กลไก, รูปแบบการจัดการเครือข่าย, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การจัดบริการผู้สูงอายุ</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p>&nbsp;</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SWPCTH/article/view/1176 ผลการใช้ Platform Social Telecare ในการจัดการรายกรณี ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางของนักสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 2025-04-04T14:55:54+07:00 punnanida chotthanin Nojan2536@gmail.com <p>โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้มีการนำ Platform Social Telecare เข้ามาปรับใช้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลการใช้ Platform Social Telecare และการจัดบริการดูแลทางสังคม ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ผลการดำเนินโครงการ พบว่า Platform Social Telecare มีการบันทึกข้อมูล จำนวน 139 ราย พบว่า เป็น ชาย ร้อยละ 53 หญิง ร้อยละ 47 สัญชาติไทยมากที่สุด ร้อยละ 93 ส่วนใหญ่อายุ 11 – 20 ปี ร้อยละ 36 รองลงมา อายุ 61 – 70 ปี ร้อยละ 32 ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมีสิทธิบัตรหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ร้อยละ 78 ผู้ป่วย long term care พบมากที่สุดร้อยละ 30 ผู้ป่วยมะเร็งและระยะท้าย และผู้ป่วยทั่วไป ร้อยละ 24 ผู้ป่วยที่ถูกกระทำความรุนแรง (OSCC) ร้อยละ 9 ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ลักษณะปัญหาทางสังคมจากการใช้ Platform Social Telecare พบ 5 ปัญหาหลัก 1) ปัญหาทางการเงิน 2) ปัญหาการประกอบอาชีพ 3) ปัญหาต่อการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย 4) ปัญหาภาระในการดูแลผู้สูงอายุ/มีคนผู้พิการในครอบครัว 5) ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ</p> <p>โดยนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ได้ใช้เครื่องมือ Platform Social Telecare (PST) จำนวน 3 เครื่องมือเพิ่มเติมในการประเมินผู้ป่วยและครอบครัวในบางราย ได้แก่ 1) เครื่องมือประเมินความพร้อมของครอบครัว (Family Readiness Assessment : F.R.A.) ในผู้ป่วยจำนวน 15 ราย หากครอบครัวมีระดับความพร้อมน้อย นักสังคมสงเคราะห์จะใช้วิธีการ Family Therapy/Family Counseling หากครอบครัวมีระดับความพร้อมปานกลาง นักสังคมสงเคราะห์จะใช้วิธีการ Counseling หากครอบครัวมีระดับความพร้อมมาก นักสังคมสงเคราะห์จะใช้วิธีการ Psycho – Social Support และหากครอบครัวมีระดับความพร้อมมากที่สุด นักสังคมสงเคราะห์จะใช้วิธีการ Psycho – Social Education 2) การใช้เครื่องมือประเมินการดูแลสุขภาพจิตตนเอง (Mental Self Care Assessment: M.S.C.A.) โดยส่วนใหญ่จะใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่เตรียมความพร้อมในการปลูกถ่ายอวัยวะ ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่ได้รับการประเมิน สามารถดูแลสุขภาพจิตได้ในระดับมาก </p> <p>มีเพียงร้อยละ 20 ของผู้ป่วยที่ได้รับการประเมิน สามารถดูแลสุขภาพจิตได้ในระดับปานกลาง โดยในทั้งสองระดับ นักสังคมสงเคราะห์จะใช้วิธีการเสริมพลังอำนาจ (Empowerment), การให้ความรู้การดูแลสุขภาพจิตตนเอง (Education) , และการให้การปรึกษา (Counseling) ในการดำเนินการกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีพลังใจในการใช้ชีวิต และสามารถจัดการกับปัญหาได้ 3) การใช้เครื่องมือในการประเมินและวินิจฉัยปัญหาทางสังคมอย่างเป็นระบบ เครื่องมือ S.D.M.A และแพลตฟอร์ม Social Telecare ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือของคำวินิจฉัยทางสังคมในกระบวนการประเมินและวินิจฉัยปัญหาทางสังคม ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องประมวลข้อมูลทางสังคมของผู้ป่วยมีความหลากหลายซับซ้อน บางปัญหามีการซ้อนทับและส่งผลต่อกัน ทำให้แพทย์หรือสหวิชาชีพอื่น เห็นมิติทางสังคมที่เป็นธรรมชาติของปัญหาได้อย่างแท้จริง จนนำไปสู่การปรับแผนการรักษาให้สอดคล้องกับข้อจำกัดของผู้ป่วยและการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> <p>นอกจากนี้ยังมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการส่งผลให้ภาคีเครือข่ายได้ความรู้ ความเข้าใจ การใช้ Platform Social Telecare ตามมาตรฐาน PDPA รวมถึงการประชุม Case Conferences ทางไกลในการช่วยเหลือผู้ป่วย และยังพบ ความท้าทายและโอกาสในการพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง Platform Social Telecare ไปยังระบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลลัพธ์จากโครงการสามารถนำไปสู่การพัฒนานโยบายด้านสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ นอกจากนี้ ยังช่วยพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญของบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีและการประเมินปัญหาทางสังคมผ่าน Platform Social Telecare ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสังคมที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นต้นแบบของการใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและสุขภาพในยุคดิจิทัล</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SWPCTH/article/view/1156 Child Labour in Fishery Value Chains in Thailand and its Inter-linkages with Migration 2025-04-11T15:19:32+07:00 Jaturong Boonyarattanasoontorn testswpc@gmail.com <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The research on "Child Labour in Fishery Value Chains in Thailand and its Inter-linkages with Migration" has 4 objectives namely: (1) to find out the characteristics and conditions of household situations, as well as adults and children working in the value chain of small-scale fishing (2) to analyse the causes and consequences of child labor, and how are laws designed to protect them (3) to analyze how does migration affect child labor, directly or indirectly, and what conditions and government efforts have caused migrants to worsen or reduce child labor in the fisheries sector(4) to analyze how can child labour be eliminated in the fishing sector. The research employed mixed methods to answer the objectives, The research results reveal that (1) the fishery business in Thailand at the moment demands a high number of migrant workers. The majority of Thai adults and children have declined to work in this business; (2) the Thai labor protection law has complied with the International Labour Standards (ILS) on minimum age, ILO C 138, beginning at 15 years of age with light and non-hazardous work by notifying a labor inspector and keeping records as required by the law.However, law enforcement is not strong enough, especially with migrant child workers. (3) Thailand ratified two ILO conventions to make progress in social protection for labor in 2016. (4) The government policy since 1992 has always improved. But the problem of laws enforcement still existind which need to be solved. </p> <p><strong>Keywords: </strong>Child labor in fishing, international migration</p> <p><strong> </strong></p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SWPCTH/article/view/1092 การเปลี่ยนแปลงของสังคมสงเคราะห์สีเขียวสู่วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2025-04-04T11:55:01+07:00 Chanon Komonmarn chanonkomonmarn@gmail.com <p>ความตระหนักเกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์สีเขียวเกิดขึ้นในวงการสังคงเคราะห์นานาชาติ สังคมสงเคราะห์สีเขียวมีฐานคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สังคมสงเคราะห์สีเขียวมีหลักคิดสำคัญคือเมื่อเกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติผู้ที่ได้รับความเสียหาย/ผลกระทบมากที่สุดคือผู้เปราะบางในสังคม นอกจากนี้กรอบแนวคิดที่สำคัญสำหรับสังคมสงเคราะห์สีเขียว คือ แนวคิดเรื่องความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม สังคมสงเคราะห์สีเขียวได้รับการบรรจุไว้ในวาระโลกด้านสังคมสงเคราะห์และพัฒนาสังคมในปี ค.ศ.2012 เพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติงานสำหรับนักสังคมสงเคราะห์และนักพัฒนาสังคมทั่วโลกนำไปประยุกต์ใช้ แต่ในความเป็นจริงสังคมสงเคราะห์สีเขียวยังต้องการการพัฒนาอย่างมากและขับเคลื่อนเพื่อสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรม หลังจากที่สหประชาชาติประกาศเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน ปีค.ศ. 2015 สังคมสงเคราะห์สีเขียวได้ถูกผสมผสาน ต่อยอด และผนวกรวมเข้าไว้ในวาระสังคมสงเคราะห์และพัฒนาสังคมโลกโดยก้าวไปสู่การสร้างสังคมที่เป็นธรรมทั้งในมิติเศรษฐกิจ มิตสังคมและมิติสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสังคมสงเคราะห์สีเขียวได้ขยายกรอบคิดอย่างกว้างขวาง นักสังคมสงเคราะห์สามารถเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งได้ผนวกรวมสังคมสงเคราะห์สีเขียวเอาไว้ด้วยแล้วอันจะนำไปสู่สังคมเป็นธรรมทั้งในมิติเศรษฐกิจ มิติสังคมและมิติสิ่งแวดล้อม</p> 2025-05-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SWPCTH/article/view/1800 บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เรื่อง Social work practice in the criminal justice system 2025-04-29T13:11:11+07:00 siriporn kaukulnurak siriporn5633@yahoo.com <p><strong>บทวิจารณ์ชื่อหนังสือ</strong><strong>:</strong> Social work practice in the criminal justice system</p> 2025-05-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย