พุทธจริยศาสตร์ประยุกต์เพื่อบูรณาการต่อต้านการทุจริตนโยบาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ประยุกต์เพื่อบูรณาการต่อต้านการทุจริตนโยบาย (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพุทธจริยศาสตร์ประยุกต์เพื่อบูรณาการต่อต้านการทุจริตนโยบาย และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพุทธจริยศาสตร์ประยุกต์เพื่อบูรณาการต่อต้านการทุจริตนโยบาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 400 คน และกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารข้าราชการในในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 10 คน ผู้วิจัยใช้รูปการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณใช้สถิติการแจกแจงความถี่ และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการนำเสนอเป็นตารางใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับ ประกอบการอภิปรายผล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยคัดเลือกและจําแนกข้อมูล จัดระเบียบข้อมูลให้เป็นระบบ จัดทําบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนําข้อมูลไปเขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย ผลการวิจัยพบว่า : (1) พุทธจริยศาสตร์ประยุกต์เพื่อบูรณาการต่อต้านการทุจริตนโยบายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำพุทธจริยศาสตร์มาบูรณาการนโยบายต่อต้านการทุจริตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ได้แก่ การมีส่วนร่วมของประชาชน (X1) ความพึงพอใจในนโยบาย (X2) บทบาทของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (X5) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ตัวทำนายในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .381, .299, และ.156 ตามลำดับ และ (3) ควรสร้างการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่โดยมีหลักพุทธจริยธรรมเป็นคุณธรรม โดยการบูรณาการนโยบายสาธารณะใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้ครอบคลุมนโยบายทุกระดับ จัดให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตระหนักถึงการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล กำหนดตัวชี้วัดมาตรฐานหรือเกณฑ์ในการประเมินนโยบายสาธารณะบนพื้นฐานของคุณธรรมและความโปร่งใส
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความนี้
References
กีรติ บุญเจือ. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักวิชาการสากล. กรุงเทพมหานคร: เชน ปริ้นติ้ง.
กัลยา วานิชย์บัญชา .(2560). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
กนกอร บุญมี ธวัช ทะเพชร และนภารัตน์ พุฒนาค. (2560). แนวทางการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของ
ชุมชนบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น, 4(2), 84-98.
จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. (2556). แนวโน้มของคอร์รัปชันในประเทศไทย (The Trend of Corruption in
Thailand). [รายงานวิจัย] กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2543). จริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ดิฐภัทร บวรชัย. (2560). รูปแบบการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีศึกษา
ระดับสถานีตำรวจ. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 16(30), 50 - 62.
บุญเพ็ญ สิทธิวงษา, กนกอร บุญมีและ อาทิตย์ แสงเฉวก. (2565). การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ. วารสารสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 49 – 66.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2551). อาชญากรรมพื้นฐานกับกระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร: โครงการ
ส่งเสริมเอกสารวิชาการสถาบันฑิตพัฒนบริศาสตร์.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร, และ สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2549). ทฤษฎีการคอรัปชั่น. กรุงเทพมหานคร: ร่วมด้วย
ช่วยกัน.
พระราชรัตนาลงกรณ์, สัญญา เคณาภูมิ. (2559). พุทธจริยศาสตร์สำหรับบทบาทของมนุษยชาติ : กรณีศึกษา
รัฐ-บ-ว-ร จังหวัดหนองคาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 71-87.
วีระ สมบูรณ์. (2551). โลกาภิวัตน์ สิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมระหว่างประเทศ: ประเด็นและมุมมอง
ทางทฤษฎีการเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 1).: บริษัทกรีน พริ้นท จำกัด.
วิทยากร เชียงกูล. (2549). แนวทางปราบคอร์รัปชันอย่างได้ผล: เปรียบเทียบไทยกับประเทศอื่น. กรุงเทพมหานคร: สายธาร.
เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ และคณะ. (2553). โครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย An
Assessment of the Curruption Situation in Thailand. [รายงานการวิจัย]
กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน ป.ป.ช..