ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยโสธร 2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยโสธร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดยโสธร จำนวน 400 คน และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน ผู้วิจัยใช้รูปการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณใช้สถิติการแจกแจงความถี่ และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการนำเสนอเป็นตารางใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับ ประกอบการอภิปรายผล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยคัดเลือกและจําแนกข้อมูล จัดระเบียบข้อมูลให้เป็นระบบ จัดทําบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนําข้อมูลไปเขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย ผลการวิจัยพบว่า : 1) ระดับการบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยโสธ โดยรวมทุกด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการพัฒนาการจัดเก็บรายได้อยู่ในระดับ ปานกลาง ด้านบริการสาธารณะอยู่ในระดับ ปานกลาง และด้านประสิทธิผลอยู่ในระดับ ปานกลาง ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยโสธร (โดยรวมทุกด้าน) ได้แก่ ด้านหลักอำนวยความสะดวก (X4) ด้านหลักความประหยัด (X3) ด้านหลักความเป็นธรรม (X1) ค่าสัมประสิทธิ์ (B) ของตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 3 ตัวแปรมีค่าเท่ากับ .420, .276 และ .041 ตามลำดับ และ 3) การจัดเก็บภาษีที่เน้นความประหยัด ระบบการบริหารการจัดการในการจัดเก็บภาษีที่เน้นหลักความประหยัดนั้น ต้องจัดเก็บจะต้องเป็นภาระแก่ผู้เสียภาษีน้อยที่สุดและค่าใช้จ่ายในการเก็บภาษีต่ำที่สุด ตลอดจนการชำระภาษีที่เปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถชำระได้หลากหลาย ความแน่นอนการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเชื่อมโยงกับหลายหน่วยงาน และในบางครั้งการรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากหน่วยงานอื่นหรือข้อมูลที่มีอยู่ไม่ถูกต้องจึงทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการประเมินภาษี แต่ก็สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้หากได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ความเป็นธรรมเนื่องจากอัตราภาษีและฐานที่นำมาคำนวณภาษีในการจัดเก็บภาษีในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ประกอบกับการใช้ประโยชน์ฯในทรัพย์สินที่มีความแตกต่าง เนื่องจากลักษณะของทรัพย์สินในท้องถิ่นซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและในตัวเมืองเป็นพื้นที่ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ ดังนั้นอัตราภาษีที่จัดเก็บและฐานภาษีจึงสมควรที่จะใช้อัตราที่แตกต่างกัน
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.
โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์ วิญญูชน จำกัด.
โชลมรักษ์ วินทะไชย. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พรสวรรค์ สุดดี. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดเก็บภาษีเทศบาลตำบลกุดปลาดุก อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มนัส มนูกุลกิจ. (2552). ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสำนักงานสรรพากรกรุงเทพมหานคร. ถ่ายสำเนา.
วุฒิสาร ตันไชย. (2559). รูปแบบและประเภทการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.
อรทัย ก๊กผล. (2552). เคล็ดลับการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่น: บทเรียนจากรางวัลพระปกเกล้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส เจริญ การพิมพ์ จำกัด.