รูปแบบอำนาจชี้นำทางการเมืองของผู้ใหญ่บ้าน: กรณีศึกษาตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

พระมหาฉัตร์ชัย เชนจิ๋ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาอำนาจชี้นำทางการเมือง การใช้อำนาจชี้นำทางการเมือง พฤติกรรมการชี้นำทางการเมือง และรูปแบบอำนาจชี้นำทางการเมืองของผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 6 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 19 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ที่มาอำนาจชี้นำทางการเมืองของผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ แบ่งออกเป็น 5 แหล่ง ได้แก่ อำนาจอ้างอิง อำนาจอันชอบธรรม อำนาจความเชี่ยวชาญ และอำนาจการให้รางวัล ตามลำดับ ส่วนอำนาจการบังคับไม่จัดเป็นปัจจัยอันเป็นที่มาอำนาจชี้นำทางการเมือง (2) การใช้อำนาจชี้นำทางการเมือง
ของผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ อำนาจอันเกิดจากความสัมพันธ์ อำนาจจากเชื้อสายวงศ์สกุล อำนาจอันเกิดจากความรู้ อำนาจทางกาย และอำนาจอันเกิดจากวัตถุ ตามลำดับ (3) พฤติกรรมการชี้นำทางการเมืองของผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกออกได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ ผู้นำแบบมีส่วนร่วม ผู้นำแบบส่งเสริมสนับสนุน ผู้นำแบบใช้อำนาจ และผู้นำแบบมุ่งผลสำเร็จ ตามลำดับ และ (4) รูปแบบอำนาจชี้นำทางการเมืองของผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ จะปรากฏทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ อำนาจตามจารีตประเพณี อำนาจที่เกิดจากการควบคุมสั่งการ และอำนาจตามการแลกเปลี่ยน ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
เชนจิ๋ว พ. (2023). รูปแบบอำนาจชี้นำทางการเมืองของผู้ใหญ่บ้าน: กรณีศึกษาตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารนิติรัฐ, 1(3), 40–49. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/LSJ/article/view/96
บท
บทความวิจัย

References

กู้เกียรติ ชูศักดิ์สกุลวิบูล. (2546). บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย: ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ดวงพร ว่องสุนทร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ไททัศน์ มาลา. (2559). การคงอยู่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในบริบทของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 305-317.

สิทธิ์ บุตรอินทร์ และภูมินทร์ บุตรอินทร์. (2560). ปรัชญาการเมืองเปรียบเทียบ: ศึกษาการเมืองแนวบูรณาการด้านอภิปรัชญา จริยศาสตร์ ตรรกศาสตร์ และคุณวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศยาม.

สุธีร์ บริรักษ์. (2544). บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พุทธศักราช 2537: ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรพงษ์ รุ่งวารินทร์. (2555). บทบาทด้านการปกครองของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน: กรณีจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(1), 281-288.

Evans, M. G. (1970). The effects of supervisory behavior on the path-goal relationship. Organizational Behavior and Human Performance, 5(3), 277-298.

French Jr., J. R. P., & Raven, B. H. (1968). The bases of social power. In D. Cartwright (Ed.), Group dynamics: Research and theory (3rd ed., pp. 159-170). Harper & Row.

Gramsci, A. (1971). Selections from the prison notebooks (Q. Hoare & G. N. Smith, Trans.). International Publishers.

House, R. J. (1971). A path goal theory of leader effectiveness. Administrative Science Quarterly, 16(3), 321-339.

McClelland, D. C. (1961). Achieving society. D. Van. Nostrand.

Mulder, P. (2013). ERG theory of motivation explained. Retrieved from https://www.toolshero.com/psychology/erg-theory

Weber, M. (1964). Basic concepts in sociology (H. P. Secher, Trans.). Peter Owen.