แนวทางการให้คำปรึกษาของครูในสถานศึกษา

Main Article Content

กมลลักษณ์ สิทธิสวัสดิวุฒิ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การให้คำปรึกษาสำหรับเป็นแนวทางการให้คำปรึกษาในสถานศึกษาแก่ครูที่ต้องให้คำปรึกษานักเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ได้ และสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข อนึ่ง การที่ครูจะให้คำปรึกษานักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ ครูจะต้องมีความรู้ ความสามารถ และมีคุณลักษณะที่ดีต่อการเป็นผู้ให้คำปรึกษา คือ ครูควรได้รับความรู้ด้านจิตวิทยาให้คำปรึกษา อีกทั้งทฤษฎีการให้คำปรึกษาเพื่อนำมาใช้กับการให้คำปรึกษานักเรียน นอกจากได้รับความรู้แล้ว ครูควรได้รับการฝึกฝนการให้คำปรึกษาเพื่อให้มีความชำนาญและเกิดทักษะในการให้คำปรึกษา  ซึ่งจะส่งผลต่อผู้รับคำปรึกษาให้ได้รับการช่วยเหลือ พบแนวทางการแก้ไขปัญหา นอกจากนั้นครูผู้ให้คำปรึกษาจะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นผู้ให้คำปรึกษา ทัศนคติที่ดีคือความพึงพอใจในการช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถแก้ไขปัญหา ดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ ดังนั้น จากความสำคัญของการให้คำปรึกษาในสถานศึกษาเพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนควรร่วมมือกันสนับสนุนให้ครูมีความรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยป้องกัน แก้ไข และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียนซึ่งเป็นเยาวชนของชาติ ได้มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์เพื่อเป็นกำลังของชาติต่อไป

Article Details

How to Cite
สิทธิสวัสดิวุฒิ ก. (2023). แนวทางการให้คำปรึกษาของครูในสถานศึกษา. วารสารนิติรัฐ, 1(3), 13–22. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/LSJ/article/view/45
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ผู้แต่ง.

คมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2529). การแนะแนวเบื้องต้น. ไทยวัฒนาพานิช.

ชูชีพ อ่อนโคกสูง. (2552). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ไทยวัฒนาพานิช.

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2551). การแนะแนวเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะศึกษาศาสตร์.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา และวิไลลักษณ์ พงษ์โสภา. (2557). ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพชรสุดา เพชรใส. (2547). การศึกษาและการพัฒนาสมรรถภาพในการให้คำปรึกษาสำหรับครูแนะแนว. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรี ทรัพย์มี. (2556). ทฤษฎีให้บริการปรึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริบูรณ์ สายโกสุม. (2553). หลักการพื้นฐานการให้บริการปรึกษา. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย. (2552). เอกสารรายงานการประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2551. ผู้แต่ง.

อาดัม นีละไพจิตร. (2553) การศึกษาและพัฒนาสมรรถนะการให้คำปรึกษาสำหรับครูโรงเรียนเอกชนสอนภาษาอิสลาม. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อาภา จันทรสกุล. (2545). ทฤษฎีและเทคนิคการปรึกษาในสถาบันการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 10). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์.

Allport, G. W. (1961). Pattern and growth in personality. Holt, Rinehart, & Winston.

Brammer, L. M., & MacDonald, G. (1999). The helping relationship: Process and skills (7th ed.). Allyn & Bacon.

Burks, H. M., & Stefflre, B. (1979). Theories of counseling (3rd ed.). McGraw-Hill.

Dryden, W., & Feltham, C. (1994). Developing counsellor training. Sage.

George, R. L., & Cristiani, T. S. (1995). Counseling: Theory and practice (4th ed.). Allyn & Bacon.

Holcomb-McCoy, C. C. (2000). Multicultural counseling competencies: An exploratory factor analysis. Journal of Multicultural Counseling and Development, 28(2), 83-97.

Ivey, A. E., D'Andrea, M. J., & Ivey, M. B. (2011). Theories of counseling and psychotherapy: A multicultural perspective (7th ed.). Sage.

McGuire, W. J. (1969). The nature of attitudes and attitude change. In E. Aronson & G. Lindzey (Eds.), The handbook of social psychology (2nd ed., pp. 136-314). Addison-Wesley.

Nelson-Jones, R. (2012). Introduction to counselling skills: Text and activities (4th ed.). Sage.

Patterson, L. E., & Welfel, E. R. (1999). The counseling process (5th ed.). Brooks/Cole.

Rogers, C. R. (1961). On becoming a person: A therapist’s view of psychotherapy (8th ed.). Houghton Mifflin.

Secord, P. F., & Backman, C. W. (1964). Social psychology. McGraw-Hill.

Wilkinson, J. D., & Campbell, E. A. (1997). Psychology in counseling and theoretical. John Wiley & Sons.

Wrenn, C. G. (1951). Training of vocational guidance workers. Journal of Counseling and Development, 29(6), 414-419.