แนวทางการจัดการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

Main Article Content

อภิรักษ์ นกขุ้ม
อรฤดี เอี่ยมนาวา
ประจวบ งามดี
เชษฐ์ ใจเพชร
ภาวิดา รังษี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) รูปแบบการให้บริการด้านสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ (2) สภาพปัญหาของสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ และ (3) แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้สูงอายุมีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืดได้ให้บริการทั้ง 4 ด้าน เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.
2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 66 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (6) (10) และ (19) (1) ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ รวมไปถึงมีเจ้าหน้าที่ไปให้บริการที่บ้าน (2) ด้านการศึกษา จัดให้มีโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อให้เรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน รวมทั้งจัดให้มีการศึกษาดูงานนอกพื้นที่ (3) ด้านการประกอบอาชีพ หน่วยงานในพื้นที่เข้ามาฝึกสอนทักษะ เพื่อนำมาประกอบอาชีพเสริมตามสภาพวัยของผู้สูงอายุ (4) ด้านการจ่ายเบี้ยยังชีพ ได้ดำเนินการการจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐ ในส่วนของปัญหา คือ ผู้สูงอายุไม่ค่อยมีเวลา เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเตียง บางคนยังทำอาชีพรับจ้าง และยังตกสำรวจสิทธิ์ในการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ แนวทางในการแก้ไข สร้างภาคีเครือข่าย จัดทำการสำรวจเพื่อแจ้งสิทธิในการรับเบี้ยยังชีพ และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมที่จะดำเนินการ รวมไปถึงการจัดบริการรถรับ-ส่งมาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ นอกเหนือจากนี้ผู้สูงอายุยังมีความต้องการในด้านการเกษตร ส่งเสริมเมล็ดพันธ์พืช ในด้านโภชนาการ ต้องการเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขแนะนำเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเตียง

Article Details

How to Cite
นกขุ้ม อ., เอี่ยมนาวา อ., งามดี ป., ใจเพชร เ., & รังษี ภ. (2023). แนวทางการจัดการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารนิติรัฐ, 1(3), 31–39. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/LSJ/article/view/32
บท
บทความวิจัย

References

นันทนา อยู่สบาย. (2557). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

รณิดา มนต์ขลัง, ภักดี โพธิ์สิงห์ และสัญญา เคณาภูมิ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2),133-153.

ระพีพรรณ คำหอม. (2557). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภวจี ภาษิตานนท์. (2560). การจัดสวัสดิการสังคมด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาเขตบางแค. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมพล นะวะกะ. (2555). ความต้องการได้รับสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สรายุทธ เสงี่ยม และอนุวัฒน์ วิใจเงิน. (2561). การบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทางการแพทย์และสาธารณสุข ในเขตเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 13(1), 88-99.

Alderfer, C. P. (1969). An empirical test of a new theory of human needs. Organizational Behavior and Human Performance, 4(2), 142-175.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality (2nd ed.). Harper & Row.