กรอบแนวคิดทางกฎหมายในการรักษาสมดุลระหว่างความมั่นคงและเสรีภาพในการสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์

Main Article Content

ณฐวัฒน์ จิระเสรีรัตน์
สุขสมัย สุทธิบดี
อุทัย อาทิเวช
ไพจิตร สวัสดิสาร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กรอบแนวคิดทางกฎหมายในการรักษาสมดุลระหว่างความมั่นคงและเสรีภาพในการสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยการนำกรอบแนวคิดทางกฎหมาย ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ประมวลกฎหมายอาญา พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อนุสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมทางไซเบอร์ ปฏิญญาว่าด้วยผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน และกรอบแนวคิดทางกฎหมายของสาธารณรัฐสิงคโปร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และเนการาบรูไนดารุสซาลาม มาใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องให้เกิดความสมดุลระหว่างความมั่นคงและเสรีภาพในการสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ผลการวิเคราะห์ พบว่า ประเทศไทยควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องให้เกิดความสมดุลระหว่างความมั่นคงและเสรีภาพในการสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ดังนี้ (1) นำกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศมาตรวจสอบ เนื่องจากประเทศไทยยังเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ว่าการจำกัดเสรีภาพของประชาชนต้องเป็นไปตามหลักความจำเป็นและความได้สัดส่วน (2) นำข้อสรุปและบทเรียนของกฎหมายต่างประเทศที่เป็นนิติรัฐเข้มแข็งกว่ามากำหนดเป็นมาตรฐานที่จะใช้ในประเทศไทย (3) บัญญัติกฎหมายให้ชัดเลยว่าเรื่องใดเป็นความผิดที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ที่ให้อำนาจคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลทางคอมพิวเตอร์พิจารณาแล้วปิดกันเว็บไซต์ได้ เพื่อจะได้มีกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลระดับหนึ่ง โดยที่มิได้ให้เป็นอำนาจศาลและเป็นภาระที่ศาลจะต้องวินิจฉัย เพราะการตัดสินของศาลย่อมตัดสินไปตามอุดมการณ์ แนวคิด ค่านิยมของผู้พิพากษาในคดีนั้น ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ถ้ามีการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพประชาชนต้องห้ามด้วยข้อกฎหมายที่มาจากกฎหมายที่สูงสุด สามารถตรวจสอบได้ชัดเจน และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และ (4) เพิ่มบทบาทขององค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้กฎหมายที่จำกัดเสรีภาพได้ เพราะไม่ควรอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐเพียงฝ่ายเดียว

Article Details

How to Cite
จิระเสรีรัตน์ ณ., สุทธิบดี ส., อาทิเวช อ., & สวัสดิสาร ไ. (2025). กรอบแนวคิดทางกฎหมายในการรักษาสมดุลระหว่างความมั่นคงและเสรีภาพในการสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์. วารสารนิติรัฐ, 3(2), 1–12. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/LSJ/article/view/1770
บท
บทความวิชาการ

References

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล. (2564). การควบคุมอินเทอร์เน็ต: การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและข้อมูลข่าวสารออนไลน์ในประเทศไทย. ค้นจาก https://www.icj.org/wp-content/uploads/2021/06/Thailand-Dictating-the-Internet-FoE-Executive-Summary-2021-THA.pdf

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน. (2563). พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้อำนาจรัฐปิดเว็บที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย แม้ไม่ผิดกฎหมาย. ค้นจาก https://www.ilaw.or.th/articles/4381

ปริญญา ศรีเกตุ. (2556). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กับการลงโทษผู้กระทำความผิดกับเด็กและเยาวชนไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 5(3), 8-24.

พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์. (2560). รายงาน: คุมสื่อยุค คสช. เป้าจริงคือ “สื่อออนไลน์”?. ค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-39858097

ภัชนันท์ กลิ่นศรีสุข. (2553). การจำกัดสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออกโดยรัฐภายใต้มาตรา 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966: ศึกษากรณีประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2559). ดร.สมเกียรติ แนะทบทวน พรบ.คอมพ์. ค้นจาก https://tdri.or.th/2016/06/20160614

สาวตรี สุขศรี, ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ และอรพิณ ยิ่งยงพัฒนา. (2555). ผลกระทบจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และนโยบายของรัฐกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น. โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน.

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2546). แนวทางปฏิบัติและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ. ผู้แต่ง.

Council of Europe. (2001). Convention on cybercrime. Retrieved from https://rm.coe.int/1680081561

EarthRights International. (2022). Criminalization and judicial harassment of earth rights defenders in Thailand. Retrieved from https://earthrights.org/wp-content/uploads/2023/05/1-Your-Rights.pdf

Judijanto, L., & Khuan, H. (2024). Juridical analysis of Law Number 11 of 2008 on Electronic Information and Transactions (ITE) and its impact on creative economy development in Indonesia. West Science Law and Human Rights, 2(4), 404-411.

Karunakaren, J. (2017). A Southeast Asian chronicle: Internet censorship and the repression of digital democracy. Retrieved from https://www.ilaw.or.th/articles/9118

Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights. (1966). International Covenant on Civil and Political Rights. Retrieved from https://www.ohchr.org/en/instruments-mechanisms/instruments/international-covenant-civil-and-political-rights

Pastika, I. W., Dewi, E. P. S., & Putra, I. B. G. D. (2023). Language cases against UUITE in Indonesia. International Journal of Linguistics, Literature and Culture, 9(5), 198-208.

The Commissioner of Law Revision, Malasia. (2006). Computer Crime Act 1997. Retrieved from https://tcclaw.com.my/wp-content/uploads/2020/12/Computer-Crimes-Act-1997.pdf

Woolfe, M. (2019). Brunei’s tightening grip on freedom of expression. Retrieved from https://newnaratif.com/bruneis-tightening-grip-on-freedom-of-expression