การนำนโยบายเมืองอัจฉริยะไปปฏิบัติของกรุงเทพมหานครและจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำไปปฏิบัติ ถอดบทเรียนสภาพและข้อจำกัด และปัจจัยสู่ความสำเร็จในการพัฒนาการนำนโยบายเมืองอัจฉริยะไปปฏิบัติของกรุงเทพมหานครและจังหวัดขอนแก่น โดยศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) การปฏิบัติตามนโยบายเมืองอัจฉริยะของกรุงเทพมหานครอยู่ภายใต้การขับเคลื่อนโดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลและกลไกการจัดการของสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ซึ่งดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะพื้นที่นำร่องเรียกว่า “ย่าน” กลไกหลักของการพัฒนาเมืองขอนแก่นให้เป็นเมืองอัจฉริยะประกอบไปด้วย 4 หน่วยงาน ได้แก่ บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด บริษัท ขอนแก่นทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด สภาเมืองขอนแก่น และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ (2) ข้อจำกัดและอุปสรรคของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ อำนาจหน้าที่ในการบริหาร ต้นทุนการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ ตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์การดำเนินนโยบายที่ซ้ำซ้อน ความรู้และทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน ส่วนจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ความเชื่อมั่นและบุคลิกภาพของผู้บริหาร การไม่จัดลำดับความสำคัญของการนำไปปฏิบัติที่ดี การบริหารระบบราชการที่ไม่ยืดหยุ่น การขาดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของบุคลากร การแปลงความรู้ไปสู่การปฏิบัติ วัฒนธรรมองค์กร (3) ปัจจัยสู่ความสำเร็จของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายที่กระจ่างชัดเจน เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ภาวะผู้นำภาครัฐที่ดีของผู้บริหาร และการบริหารงานงบประมาณ สรุปได้เป็น “ตัวแบบ 4B” ส่วนจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ การมีภาวะผู้นำที่มีศักยภาพรอบด้าน การสำนึกรักบ้านเกิดของคนรุ่นใหม่ การร่วมมือกันอย่างบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การร่วมสานเสวนาเพื่อสร้างวิสัยทัศน์การปฏิบัติงานร่วมกัน การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อนลงมือปฏิบัติ การจัดทำแผนดำเนินงานที่มีความชัดเจน การระดมทรัพยากรในการปฏิบัติร่วมกัน การจัดให้มีแผนเพิ่มพูนงบเงินลงทุน และความโปร่งใสในการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมให้กับประชาชน สรุปได้เป็น “ตัวแบบ A-DISTINCT”
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานกฎหมายกัญจนรัตน
References
จารุวรรณ ประวันเน. (2563). กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ: กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 13(3), 267-284.
พงษ์เมธี ไชยศรีหา. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการจังหวัดขอนแก่นตามแนวทาง Smart City. Journal of Modern Learning Development, 5(6), 48-60.
พรสวรรค์ จันทร์สมวรกุล, ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ, สถิตย์ นิยมญาติ และกมลพร กัลยาณมิตร. (2566). แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 11(1), 134-149.
ฤทัยชนก เมืองรัตน์. (2566). เมืองอัจฉริยะ: การพัฒนาเมืองยุค 4.0. ค้นจาก https://old.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=48566&filename=article
วรเดช จันทรศร. (2554). ทฤษฎีการนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). พริกหวานกราฟฟิค.
วสันต์ เหลืองประภัสร์, นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และเกรียงชัย ปึงประวัติ. (2557). การศึกษาและรวบรวมตัวอย่างการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (collaborative governance) ระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์.
ศิริวัฒน์ เจนรังสรรค์ และวิมลสิริ แสงกรด. (2562). การพัฒนาเทศบาลเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 361-375.
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2564). การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ. ค้นจาก https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan/smart-city-office
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). ผู้แต่ง.
อรชพร ฤทธิชัย และนัทนิชา โชติพิทยานนท์. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารงานเมืองอัจฉริยะ ด้านการเดินทางและการขนส่งอัจฉริยะ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 7(4), 284-304.
อัจฉรียา ไชยนิล และจุฑาทิพ คล้ายทับทิม. (2566). ความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 6(3), 36-51.
อำนาจ มณีวรรณวรวุฒิ. (2566). การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(1), 126-143.
Anderson, J. E. (1994). Public policymaking: An introduction (2nd ed.). Houghton Mifflin.
Birkland, T. A. (2019). An introduction to the policy process: Theories, concepts, and models of public policy making (5th ed.). Routledge.
Hartley, K., & Aldag, A. (2024). Public trust and support for government technology: Survey insights about Singapore’s smart city policies. Cities, 154, 105368.
Jiang, H., Geertman, S., & Witte, P. (2023). The contextualization of smart city technologies: An international comparison. Journal of Urban Management, 12(1), 33-43.
Salman, M. Y., & Hasar, H. (2023). Review on environmental aspects in smart city concept: Water, waste, air pollution and transportation smart applications using IoT techniques. Sustainable Cities and Society, 94, 104567.
Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975). The policy implementation process: A conceptual framework. Administration & Society, 6(4), 445-488.
Van Twist, A., Ruijer, E., & Meijer, A. (2023). Smart cities & citizen discontent: A systematic review of the literature. Government Information Quarterly, 40(2), 101799.
Wolniak, R. (2023). Smart mobility in smart city – Copenhagen and Barcelona comparison. Retrieved from https://managementpapers.polsl.pl/wp-content/uploads/2023/06/172-Wolniak-2.pdf