มาตรการทางกฎหมายในการขยายผลปราบปรามผู้กระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด

Main Article Content

ฉัตรชัย ภูเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายมาตรการขยายผลในการพิสูจน์ความผิดฐานสมคบ และการยึดทรัพย์สินในการปราบปรามผู้กระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดในประเทศไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายยาเสพติด มาตรการส่งเสริมบุคคลให้ความช่วยเหลือหรือให้ข้อมูลแก่หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย หลักการต่อรองคำรับสารภาพ และมาตรการยึดทรัพย์สินเพื่อพิสูจน์ความผิดผู้กระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดของประเทศไทยกับต่างประเทศ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 20 คน และการอภิปรายกลุ่มสนทนาแบบเจาะจง จำนวน 6 คน ในการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายยาเสพติดเพื่อนำไปใช้ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ประมวลกฎหมายยาเสพติด ยังไม่มีการกำหนดนิยาม “การให้ข้อมูลสำคัญในคดียาเสพติด” ที่ชัดเจนและครอบคลุมไปถึงการยึดทรัพย์ในคดียาเสพติด รวมทั้งการกำหนดวิธีการขั้นตอนสำหรับการให้ข้อมูลสำคัญในชั้นจับกุม ชั้นสอบสวน และชั้นพิจารณาคดี อีกทั้งยังไม่มีบทบัญญัติให้เจ้าพนักงานต้องถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา หรือจำเลย มิให้ถูกเจ้าพนักงานละเลยในการแจ้งข้อกฎหมาย อันเป็นประโยชน์สำหรับการให้ข้อมูลสำคัญในการขยายผลปราบปราบผู้กระทำผิดร้ายแรงในคดียาเสพติด

Article Details

How to Cite
ภูเจริญ ฉ. (2025). มาตรการทางกฎหมายในการขยายผลปราบปรามผู้กระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด. วารสารนิติรัฐ, 3(1), 1–12. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/LSJ/article/view/1589
บท
บทความวิจัย

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2558). แผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2559-2562. ผู้แต่ง.

ต่อศักดิ์ บูรณะเรืองโรจน์. (2536). การอภิปรายทั่วไปเกี่ยวกับแนวความคิดทางด้านนโยบายเพื่อการปราบปรามองค์กรอาชญากรรม. วารสารอัยการ, 16(186), 55-82.

ปัณณวิช ประจวบลาภ. (2556). ดุลยพินิจของศาลในการลดโทษ: ศึกษากรณีจำเลยให้ข้อมูลสำคัญในคดียาเสพติด. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พชร บุญสวัสดิ์ และรุ่ง ศรีสมวงษ์. (2565). ปัญหาการรวบรวมข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 153. ค้นจาก https://postgrads.mfu.ac.th/wp-content/uploads/2022/12/6251601259.pdf

ยุทธนา ไสวสุวรรณวงศ์. (2543). วิเคราะห์เปรียบเทียบความผิดฐานสมคบ: ศึกษาเปรียบเทียบหลักกฎหมายในประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์ และนิฤมน รัตนะรัต. (2561). การริบทรัพย์สินของผู้กระทำผิดในคดียาเสพติดกับความเป็นธรรมและมนุษยธรรม. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 26(1), 63-94.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2566). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ผู้แต่ง.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2566). สถิติคดียาเสพติด. ผู้แต่ง.

อรรณพ ลิขิตจิตถะ, ณรงค์ รัตนานุกูล และคมกริช หาญไชย. (2548). มาตรการส่งเสริมบุคคลให้ความช่วยเหลือหรือให้ข้อมูลแก่หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย: การพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ (ระยะที่ 2). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อุทัย อาทิเวช. (2554). รวมบทความกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส. วี. เจ. พริ้นติ้ง.

อุทัย อาทิเวช. (2561). หลักและทฤษฎี: ความผิดอาญาและโทษ. วี. เจ. พริ้นติ้ง.

Hilger, J. P. W. (2001). Principal witness regulations to suppress organized crime in Germany. Retrieved from https://www.unafei.or.jp/publications/pdf/RS_No58/No58_13VE_Hilger4.pdf