พรรคนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง: กรณีศึกษาพรรคตะวันใหม่

Main Article Content

กิตชัยยกุลย์ อินทร์แก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการก่อเกิด พัฒนาการ และการบริหารของพรรคตะวันใหม่ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 คน ผลการวิจัย พบว่า ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแนวร่วมของพรรคพิทักษ์ธรรมกับพรรคพิทักษ์ธรรม ทำให้เกิดพรรคตะวันใหม่ขึ้น พัฒนาการของพรรคตะวันใหม่นั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ได้แก่ (1) ยุคเริ่มต้น (2535-2545) เป็นช่วงที่พรรคประสบกับความล้มเหลวในการเลือกตั้งในช่วง 5 ปีแรก(2535-2540)เนื่องจากขาดการสนับสนุน “ทุน” จากภายนอกและตัวผู้สมัครของพรรคยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่ในช่วงท้ายของยุคนี้พรรคสามารถระดมทุนจากภายนอกได้ จนนำไปสู่การชนะเลือกตั้ง 4 สมัยติดต่อกันในปี 2541-2544 (2) ยุครุ่งเรือง (2546-2556) เป็นยุคที่พรรคตะวันใหม่ได้มีการเรียนรู้และปรับแนวคิดในการ “เข้าถึง” มวลชน โดยการเน้น “สื่อ” มีการนำศิลปินและการจัดคอนเสิร์ตตามยุคสมัยเข้ามาในมหาวิทยาลัย จนนำไปสู่การชนะการเลือกตั้งได้อีกครั้งในปี 2548 และสามารถครองอำนาจอย่างยาวนานได้อีก 5 สมัยติดต่อกันในปี 2551-2555 (3) ยุคเสื่อมถอย (2557-2566) เป็นยุคที่พรรคตะวันใหม่ไม่ชนะการเลือกตั้งได้เลย 6 ปีเต็ม (2557-2562) จนกระทั่งมาถึงปี 2563-2566 พรรคสามารถชนะการเลือกตั้ง 4 สมัยติดต่อกัน ด้วยการ “คิดใหม่ ทำใหม่” รักษาคำพูดต่อแนวร่วม และการปรับใช้รูปแบบของการระดมมวลชนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ส่วนการบริหารงานของพรรคตะวันใหม่จะเน้นการมีส่วนร่วมจากสมาชิกทุกภาคส่วน ตลอดจนมี “รุ่นพี่” คอยให้คำแนะนำและช่วยประสานงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

Article Details

How to Cite
อินทร์แก้ว ก. (2023). พรรคนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง: กรณีศึกษาพรรคตะวันใหม่. วารสารนิติรัฐ, 1(2), 11–21. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/LSJ/article/view/15
บท
บทความวิจัย

References

กิตชัยยกุลย์ อินทร์แก้ว. (2563). พัฒนาการของพรรคนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิรโชค วีระสย, สุรพล ราชภัณฑารักษ์ และสุรพันธ์ ทับสุวรรณ์. (2562). รัฐศาสตร์ทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จุมพล หนิมพานิช. (2552). กลุ่มผลประโยชน์กับการเมืองไทย: แนวเก่า แนวใหม่ และกรณีศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา หงส์ไกรเลิศ. (2524). พรรคการเมืองและปัญหาพรรคการเมืองไทย. ไทยวัฒนาพานิช.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สภานักศึกษา และงานกิจกรรมนักศึกษา, หน่วยส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา. (2555). คู่มือกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีการศึกษา 2554. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กองกิจการนักศึกษา.

รังสรรค์ แสงสุข. (2514). องค์การนักศึกษามหาวิทยารามคำแหง. ข่าวรามคำแหง, 1(6), 3.

รำไพ สิริมนกุล. (2565). เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง. ค้นจาก http://www.oasc.ru.ac.th/index.php?option=com_content&view=%20article&id=245%20&Itemid=134

ลิขิต ธีรเวคิน. (2549). การเมืองการปกครองของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หยุด แสงอุทัย. (2518). พรรคการเมือง. พิฆเณศ.

เอกวิทย์ มณีธร. (2552). รัฐศาสตร์. เอ็ม ที เพรส.

Duverger, M. (1964). Political parties: Their organizations and activities in the modern state. Methuen.

Pennock, J. R., & Smith, D. G. (1964). Political science. Macmillan.