ขั้นตอนการส่งบทความและกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review Process)

ทุกบทความที่ส่งเข้ามาเพื่อจะตีพิมพ์ในวารสารพุทธรัตโนบลนั้น จะได้รับการพิจารณาด้วยกระบวนการตรวจสอบตามขั้นตอนการส่งบทความและกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review Process) ดังนี้

  1. ขั้นตอนการตรวจสอบบทความเบื้องต้น (Preliminary inspection)

 ผู้นิพนธ์ส่งบทความต้นฉบับมาที่วารสารพุทธรัตโนบล กองบรรณาธิการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสารพุทธรัตโนบล จะตรวจสอบความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และขอบเขตเนื้อหาของความถูกต้องของต้นฉบับว่าถูกต้องตามเกณฑ์ที่วารสารกำหนดหรือไม่ กรณีที่ต้นฉบับไม่สอดคล้องกับวารสาร บทความต้นฉบับนั้นจะถูกปฏิเสธทันทีโดยไม่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม หากต้นฉบับมีอัตราความคล้ายคลึงสูงกว่าขีดจำกัดของวารสาร ต้นฉบับนั้นจะถูกปฏิเสธในขั้นตอนนี้เช่นกัน  (ระยะเวลาประมาณ 1 Week)

  1. ขั้นตอนการคัดเลือกผู้ประเมิน

คณะบรรณาธิการจะคัดเลือกผู้ประเมิน เพื่อประเมินต้นฉบับ โดยต้องมีผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านในสาขาที่เกี่ยวข้องและมีประสบการณ์ในสาขาเฉพาะที่วารสารกำหนด มาจากหลากหลายสถาบันที่แตกต่างกัน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน (ระยะเวลาประมาณ 1 Week)

  1. ขั้นตอนการพิจารณารูปแบบและการอ้างอิง (Submission) และชำระค่าธรรมเนียม

หากบทความต้นฉบับนั้นสอดคล้องกับวารสารพุทธรัตโนบล กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความซ้ำซ้อน รูปแบบ และการอ้างอิงเป็นไปตามเกณฑ์ของวารสารหรือไม่ หากต้นฉบับมีรูปแบบและการอ้างอิงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ จะส่งคืนให้ผู้นิพนธ์แก้ไขในขั้นตอนนี้ก่อน (ระยะเวลาประมาณ 1 Week)  ถ้าบทความมีรูปแบบและการอ้างอิงที่ถูกต้อง ทางวารสารจะแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบว่า บทความต้นฉบับนั้นจะถูกส่งไปขั้นตอนการประเมินต่อไป หากผู้นิพนธ์ยอมรับที่จะรับการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์จะต้องชำระค่าธรรมเนียมให้กับทางวารสารทันที และแนบใบแจ้งค่าธรรมเนียมเป็นหลักฐานส่งทาง E-mail……………………….หรือ Line………………

  1. ขั้นตอนการประเมิน (Review)

คณะบรรณาธิการจะคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ที่จะประเมินบทความนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน นั้นจะต้องมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ที่มาจากสถาบันที่แตกต่างและหลากหลาย และจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ จากนั้นกองบรรณาธิการจะส่งบทความต้นฉบับนั้น โดยมีรูปแบบที่ผู้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความไม่ทราบข้อมูลของผู้นิพนธ์บทความ เช่น ชื่อ-นามสกุลหรือประวัติการทำงาน และผู้นิพนธ์บทความก็ไม่ทราบชื่อ-นามสกุลผู้ทรงคุณวุฒิที่จะประเมินบทความเช่นกัน (Double-Blind Peer Review) ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความนั้น จะต้องประเมินคุณภาพบทความต้นฉบับให้ตรงตามหลักการทางวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความจะมีเวลาประเมินบทความประมาณ 1 สัปดาห์ และอาจมีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง ปฏิเสธ หรือเงื่อนไขอื่นตามที่วารสารกำหนด และทางวารสารจะส่งผลการประเมินบทความที่ผ่านเงื่อนไข คือการยอมรับตีพิมพ์ หรือการปฏิเสธ หรือมีข้อแก้ไขอื่นๆ ใด จากนั้นให้ผู้นิพนธ์แจ้งผ่านระบบออนไลน์พร้อมข้อเสนอแนะ

  1. ขั้นตอนการแก้ไขบทความ (Revisions)

หากบทความมีการแก้ไข ทางวารสารจะแจ้งให้ผู้นิพนธ์แก้ไขบทความ และผู้นิพนธ์บทความจะต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ประเมิน ทำเครื่องหมายข้อความที่แก้ไขด้วยสีแดง จะต้องมีข้อความคิดเห็นของผู้ประเมิน (ระยะเวลาประมาณ 1-2 Weeks) เมื่อผู้นิพนธ์บทความแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้นิพนธ์ส่งต้นฉบับที่แก้ไขเพียงไฟล์เดียว และอัพโหลดไฟล์ที่แก้ไขเรียบร้อยแล้ว ให้ส่งกลับเข้ามาในระบบตามวันเวลาที่กำหนดไว้

  1. ขั้นตอนการออกหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ (Accept)

เมื่อต้นฉบับที่ผ่านการตรวจสอบและประเมินจนถึงขั้นตอนการตีพิมพ์ คณะบรรณาธิการและเจ้าหน้าที่คณะทำงานวารสารจะตรวจสอบต้นฉบับในการพิสูจน์อักษรและรูปแบบรายละเอียดอย่างเข้มงวดพร้อมทั้งการอ้างอิงให้ถูกต้องอีกครั้ง ตามความซื่อสัตย์ทางวิชาการและมาตรฐานทางจริยธรรมการตีพิมพ์ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการตีพิมพ์เฉพาะบทความที่มีคุณภาพสูงสุด และออกหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ภายในกรอบเวลา 1 Week ต่อไป

Credit https://................................