การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • ดนัย ลามคำ คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสศาตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ชาญชล อาษานาม คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • วิชิต วินิจมงคลสิน คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ไหมแพรว โสภาบุตร คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, ธรรมาภิบาล, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู  2. เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม กลุ่มตัวอย่างได้แก่หัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลนาหนอง ทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ทั้งชายและหญิงที่สามารถให้ข้อมูลได้ โดยคำนวณจากใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 348 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์ในการทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน   

        ผลการวิจัยพบว่า  

        ความคิดเห็นเกี่ยวการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (= 3.56, S.D.= 0.87) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านหลักความรับผิดชอบ (= 3.67, S.D.= 0.97) รองลงมาคือด้านหลักความโปร่งใส (= 3.57, S.D.= 1.09) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านหลักการมีส่วนร่วม (= 3.44, S.D.= 0.92)

ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง  จังหวัดหนองบัวลำภู โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์ในการทำงาน และรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวม พบว่า อาชีพ และประสบการณ์ในการทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน

         แนวทางพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ 1. เทศบาลตำบลควรมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงาน 2. เทศบาลตำบลควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้กับประชาชนได้เข้าถึงง่ายที่สุด 3. ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการต่าง ๆ

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ดนัย ลามคำ, คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสศาตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

lecturer

References

ธเนศ เธียรนันทน์. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองท่าช้างอำเภอจันทบุรีจังหวดัจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทั่วไป), วิทยาลัยการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิชัยรัฐ หมื่นด้วง. (2561). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.

วิชิต โพธาราม. (2547). การศึกษาการดำเนินงานของเทศบาลตำบลในเขต จังหวัดระยอง. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีระ หาญกัน, สุวรัฐ แลสันกลาง. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วน ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์.

อรทัย ทวีระวงษ์. (2557). ทัศนคติเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York.Harper and RowPublications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-09-2024