https://so19.tci-thaijo.org/index.php/polsci_ubu/issue/feed
วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2025-06-30T11:13:12+07:00
อ.ดร.วีรชน เกษสกุล
weerachon.g@bub.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารวิชาการถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญสำหรับการเผยแพร่องค์ความรู้และความคิดใหม่ ๆ ทางวิชาการ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและการต่อยอดความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ สำหรับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การผลิตวารสารวิชาการของคณะรัฐศาสตร์ไม่เพียงแต่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการวิจัยระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา แต่ยังเป็นเวทีที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและการวิเคราะห์เชิงลึกในประเด็นทางสังคมและการเมืองที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สถานการณ์ของสังคมและการเมืองทั่วโลกที่กำลังเผชิญกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การผลิตวารสารวิชาการของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนการวิจัยที่มีคุณภาพและเป็นกลาง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกันว่าข้อมูลและการวิเคราะห์ที่เผยแพร่นั้นมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการนำไปใช้ในวงกว้าง ทั้งนี้วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการจัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ (ม.ค.–มิ.ย. และ ก.ค.–ธ.ค.) โดยใช้การกลั่นกรองบทความก่อนลงตีพิมพ์แบบผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind Peer Review) ทั้งนี้บทความทุกชิ้นที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จะผ่านกระบวนการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน </p> <p> </p>
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/polsci_ubu/article/view/792
ฟ้องตบปากเพื่อหยุดพูด : สถานการณ์และปัญหาการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในประเทศไทย
2024-09-20T21:27:39+07:00
สุทธิชัย รักจันทร์
rakjan_b@hu.ac.th
<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงประเด็นการฟ้องคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมหรือการฟ้องคดีปิดปากซึ่งก่อให้เกิดความกลัวและภาระจากการดำเนินคดี ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในประเทศไทยระหว่างปี 2557-2566</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า <strong>1. สถานการณ์การฟ้องคดี </strong>การฟ้องคดีปิดปากเชิงกระบวนการยุติธรรมถูกฉวยใช้เป็นเครื่องมือ ลักษณะเป็นการฟ้องคดีปิดปากมีทั้งการที่บริษัทฟ้องประชาชน นักกิจกรรม สื่อสารมวลชน นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหรือองค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานรัฐแจ้งความและดำเนินคดี ส่วนมากเป็นการฟ้องคดีที่มีโทษทางอาญาและการฟ้องคดีมีนัยสำคัญด้านการหยุดยั้งกิจกรรมทางการเมือง ด้านรูปแบบการดำเนินคดีพบว่ามี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการฟ้องเพื่อให้หยุดการเรียกร้องทางการเมือง และ 2) รูปแบบการฟ้องเพื่อหยุดการเรียกร้องฐานทรัพยากรธรรมชาติ</p> <p><strong>2. ปัญหาการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วม</strong> พบว่า การฟ้องคดีปิดปากมีอำนาจส่งผลกระทบผู้ถูกฟ้องโดยตรง 2 ประการ คือ 1) ต้นทุนในการฟ้องคดีน้อย แต่สร้างผลกระทบสร้างความเสียหายแก่ผู้ถูกฟ้องคดี 2) การฟ้องหรือร้องทุกข์ยังพื้นที่ห่างไกลภูมิลำเนา นอกจากนี้การฟ้องคดีปิดปากอาจเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมที่ปราศจากการยึดมั่นในหลักนิติรัฐ นิติธรรม ซึ่งชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหาอันสำคัญยิ่งในกระบวนการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยไทย</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/polsci_ubu/article/view/1160
ปรากฏการณ์ภูมิปัจเจกนิยม : กรณีศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรการทางการค้า ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์
2024-11-28T23:33:48+07:00
Sarayoot Ratsamee
sarayoot.r@kkumail.com
<p>ภูมิปัจเจกนิยม (individualism) เป็นการเปลี่ยนแปลงจากความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระดับโลก ไปสู่การใช้นโยบายที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ระดับชาติและการพึ่งพาตนเอง ปรากฏการณ์นี้ได้รับแรงกระตุ้นจากปัจจัยหลายประการ เช่น ความตึงเครียดทางการเมือง ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และความท้าทายทางสังคม เช่น ความไม่เท่าเทียมของรายได้ การคุ้มครองทางการค้า (Trade Protectionism) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของภูมิปัจเจกนิยม ประกอบด้วยนโยบายต่าง ๆ เช่น การตั้งกำแพงภาษี การจำกัดการนำเข้า และการสนับสนุนอุตสาหกรรมภายในประเทศ มาตรการเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการพึ่งพาสินค้าต่างประเทศและปกป้องเศรษฐกิจในประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดผลกระทบในระบบเศรษฐกิจโลก ปัจจัยหลักที่ผลักดันลัทธิกีดกันทางการค้า เช่น ลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Nationalism) แรงกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ สถานการณ์สำคัญที่พบได้แก่ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ภาษีสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป และโครงการ Make in India ของอินเดีย การเพิ่มมาตรการคุ้มครองทางการค้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ภูมิปัจเจกนิยม สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม แม้ว่านโยบายเหล่านี้จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ แต่ก็เสี่ยงต่อการทำลายข้อได้เปรียบของโลกาภิวัฒน์ เช่น ประสิทธิภาพ นวัตกรรม และความร่วมมือระหว่างประเทศ การสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ระดับชาติและความร่วมมือระดับโลกจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในโลกที่เชื่อมโยงถึงกันในยุคปัจจุบัน</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/polsci_ubu/article/view/1086
ปัจจัยการบริหารจัดการที่มีผลต่อการเป็นท้องถิ่นดิจิทัล กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา
2024-11-14T16:00:18+07:00
ณัฐวิภา ดวงกลาง
nattawipa.d@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการที่มีผลต่อการเป็นท้องถิ่นดิจิทัลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนประดู่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการที่มีผลต่อการเป็นท้องถิ่นดิจิทัล และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคปัจจัยการบริหารจัดการที่มีผลต่อการเป็นท้องถิ่นดิจิทัล โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพมีผู้ให้ข้อมูลผู้บริหาร ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ตัวแทนผู้นำ และตัวแทนผู้รับบริการ รวมจำนวน 9 คน ซึ่งมีความเกี่ยวกับการเป็นท้องถิ่นดิจิทัล ข้อมูลที่เก็บได้มีการวิเคราะห์แบบแก่นสาระ นอกจากนี้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการปรับตัวสู่องค์กรดิจิทัล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับปรุงพัฒนาชุมชนเพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล โดยวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิด มี 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านบุคลากรมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับดิจิทัล 2) ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมีการพัฒนาชุมชนมีประสิทธิภาพ 3) ด้านการบริหารจัดการกระบวนการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน 4) ด้านงบประมาณใช้อย่างมีคุณค่าตามงบประมาณที่ได้รับ 5) ด้านภาวะผู้นำเตรียมความพร้อมสู่ท้องถิ่นดิจิทัล การวิจัยของปัจจัยที่มีผลในการนำพาองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้ชุมชนมีความสะดวกสบายในด้านระบบของการให้บริการในรูปแบบเบ็ดเสร็จ</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/polsci_ubu/article/view/1088
แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อความเป็นองค์การนวัตกรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
2024-11-15T15:46:44+07:00
Phongsak Phakamach
pp2552@hotmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การต่อองค์การนวัตกรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประชากรศึกษา ได้แก่ บุคลากรของ รพ.สต. จำนวน 48,900 คน 9,775 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,504 คน 370 แห่ง วิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างด้วยวิธี PLS-SEM ผลการทดสอบแบบจำลองการวัดตัวแปรแฝง 3 ตัว พบว่ามีคุณภาพตามเกณฑ์วัดโดยแต่ละตัวแปรมีค่าดังนี้ 1) ความเป็นองค์การนวัตกรรมโดยภาพรวมมีค่าในระดับสูง โดยมีรายด้านเรียงลำดับจากสูงไปต่ำดังนี้ เครือข่ายองค์การ ความเหมาะสมของโครงสร้างองค์การ กระบวนการดำเนินงาน การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และยุทธศาสตร์ขององค์การ 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง ส่วนรายด้านเรียงลำดับจากสูงไปต่ำดังนี้ การใช้อิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การคำนึงถึงความเป็นบุคคล การกระตุ้นทางปัญญา และการสร้างแรงบันดาลใจ 3) วัฒนธรรมองค์การในภาพรวมมีค่าอยู่ในระดับสูง รายด้านเรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำดังนี้ แบบลำดับชั้น แบบเครือญาติ แบบปรับตัว และแบบมุ่งความสำเร็จ ผลการทดสอบแบบจำลองเชิงโครงสร้างพบว่า แบบจำลองมีคุณภาพตามเกณฑ์วัดและผลการตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยมีดังนี้ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อความเป็นองค์การนวัตกรรมในระดับสูง 2) วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลต่อองค์การนวัตกรรมในระดับปานกลาง 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การในระดับสูง และ 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลต่อองค์การนวัตกรรมในระดับต่ำ กล่าวได้ว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงนั่นเองที่เป็นตัวแปรต้นน้ำขององค์การนวัตกรรม</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี