Administrative Journal for Local Development https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc <p><strong>Administrative Journal for Local Development<br />ISSN 3057-059X (Online)<br /><br />วัตถุประสงค์วารสาร: </strong>วารสารมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ <br /><strong>ขอบเขตวารสาร: </strong>การบริหารจัดการ การศึกษา สหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และการบูรณาการศาสตร์เพื่อการพัฒนา<br /><strong>กำหนดเผยแพร่วารสาร: </strong>วารสารเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)<br /><strong>ประเภทของบทความ: </strong>วารสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บทความวิจัย และบทความวิชาการ <br /><strong>ภาษาของบทความ: </strong>วารสารรับตีพิมพ์บทความทั้งบทความภาษาไทยและบทความภาษาอังกฤษ <br /><strong>เงื่อนไขการตีพิมพ์ :</strong>บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยสองท่าน โดยบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มิใช่หน่วยงานเดียวกันกับผู้นิพนธ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบัน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร ทั้งนี้ บทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ หากมีการใช้ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อกองบรรณาธิการก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ สำหรับทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความในวารสารฉบับนี้ เป็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ<br /><strong>ทั้งนี้</strong> วารสารไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่</p> th-TH jasc2565@gmail.com (Natthawadi Boonkrong) jasc2565@gmail.com (Natthawadi Boonkrong) Thu, 14 Nov 2024 11:52:39 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การศึกษาการผลิตและการตลาดโคเนื้อเพื่อยกระดับสู่การเกษตรมูลค่าสูง https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc/article/view/941 <p>“โคเนื้อ” เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีมูลค่าการส่งออกไม่สูงเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมทางการเกษตรประเภทอื่นๆ แต่ตลาดการบริโภคในไทยก็นับว่ากำลังคึกคัก บทความนี้<br />มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตและการตลาดโคเนื้อเพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับเกษตรมูลค่าสูง<br />ในอุตสาหกรรมโคเนื้อเพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมโคเนื้อ จากการสืบค้นงานวิจัย บทความ และนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการตลาดในอุตสาหกรรมโคเนื้อ จะพบ<br />การบริหารจัดการและการไหลเวียนของระบบในรูปแบบของ ห่วงโซ่อุปทาน 3 ระดับคือ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และมีระบบการบริหารโลจิสติกส์ ภายใต้ 3 ประเด็นคือการจัดส่งวัตถุดิบ การผลิต <br />และการกระจายสินค้า โดยมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพการไหลเวียนที่ไม่สะดุด จากการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบจากบทความวิชาการและบทความวิจัยซึ่งได้นำไปสู่การเสนอแนวทาง<br />ในการผลิตและการตลาดโคเนื้อเพื่อยกระดับสู่เกษตรมูลค่าสูงได้ แนวทางเชิงกลยุทธ์ “4 Good” ประกอบด้วย 1) Good Connection Agricultural การเชื่อมต่อแบบการเกษตรแปลงใหญ่ <br />2) Good Quality and Value Added การยกระดับคุณภาพและการเพิ่มมูลค่า 3) Good Agri Tech Farming การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเกษตรและเพิ่มพูนองค์ความรู้ 4) Good Funding การเข้าถึง<br />แหล่งเงินทุนที่ดี โดยคณะผู้เขียนคาดหวังว่าหากเกษตรกรโคเนื้อดำเนินการตามแนวทางเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวแล้วจะสามารถช่วยให้กระบวนการผลิตและการตลาดมีการพัฒนาศักยภาพทำให้เกิดการสร้างมูลค่า<br />กับผลผลิตให้เกิดการเกษตรมูลค่าสูงได้ในยุคปัจจุบัน</p> สุกัญญา ชาญเชี่ยว, กิระลักษณ์ ชุติกาญจน์กุลศิริ, ฉัตริน ซ่อนกลิ่น, สุรเกียรติ ปริชาตินนท์, กมลทิพย์ ปริชาตินนท์, ภรณี หลาวทอง Copyright (c) 2024 Administrative Journal for Local Development https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc/article/view/941 Fri, 15 Nov 2024 00:00:00 +0700 การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc/article/view/658 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม กลุ่มตัวอย่างได้แก่หัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลนาหนอง ทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ทั้งชายและหญิงที่สามารถให้ข้อมูลได้ โดยคำนวณจากใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 348 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์ในการทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า </p> <p> ความคิดเห็นเกี่ยวการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.56, S.D.= 0.87) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านหลักความรับผิดชอบ (= 3.67, S.D.= 0.97) รองลงมาคือด้านหลักความโปร่งใส (= 3.57, S.D.= 1.09) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านหลักการมีส่วนร่วม (= 3.44, S.D.= 0.92)</p> <p>ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์ในการทำงาน และรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวม พบว่า อาชีพ และประสบการณ์ในการทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน</p> <p> แนวทางพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ 1. เทศบาลตำบลควรมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงาน 2. เทศบาลตำบลควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้กับประชาชนได้เข้าถึงง่ายที่สุด 3. ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการต่าง ๆ</p> ดนัย ลามคำ, ชาญชล อาษานาม, วิชิต วินิจมงคลสิน, ไหมแพรว โสภาบุตร Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารเพื่อพัฒนาท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc/article/view/658 Sat, 14 Sep 2024 00:00:00 +0700 นวัตกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และวิธีการวัดประเมินผลที่หลากหลายด้วย PAR Model: กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc/article/view/662 <p>นวัตกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และวิธีการวัดประเมินผลที่หลากหลายด้วย PAR Model เป็นการตอบสนองต่อปัญหาคุณภาพการศึกษาในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ที่พบว่าการจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมและการวัดประเมินผลที่ไม่หลากหลายส่งผลต่อการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อ 1) สร้างนวัตกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และวิธีการวัดประเมินผลที่หลากหลายด้วย PAR Model: กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 2) ประเมินนวัตกรรมฯ และ 3) ศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมฯ เป็นวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 361 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 3) แบบประเมินนวัตกรรมฯ และ 4) แบบประเมินการใช้นวัตกรรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และวิธีการวัดประเมินผลที่หลากหลายด้วย PAR Model: กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 มีผลการประเมินของนวัตกรรมฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินการใช้งานนวัตกรรมฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p> ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่านวัตกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และวิธีการวัดประเมินผลที่หลากหลายด้วย PAR Model: กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการวัดประเมินผลที่หลากหลาย โดยได้รับการประเมินในระดับมากที่สุดทั้งด้านประสิทธิภาพและการใช้งานจริง ซึ่งสะท้อนถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทของสถานศึกษา นวัตกรรมนี้ประสบความสำเร็จในการตอบสนองต่อปัญหาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียน ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของ PAR Model ในการเป็นแนวทางสำหรับการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างยั่งยืนในอนาคต</p> นันนกรฐ์ ทิพย์สูงเนิน Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารเพื่อพัฒนาท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc/article/view/662 Sat, 14 Sep 2024 00:00:00 +0700 Enhancing Digital Technology Capabilities to Improve Competitive Advantage in the Steel Production Industry: A Case Study of Baosteel in China https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc/article/view/797 <p>The steel industry, a cornerstone of global industrialization and economic development, stood at the precipice of a digital revolution. Traditional production methods, while having served the industry well for centuries, were increasingly challenged by the demands of a rapidly evolving market and the advent of the digital age, marked by the proliferation of technologies in the steel industry. Digital transformation was not merely a technological upgrade; it was a strategic imperative for steel manufacturers seeking to maintain their competitive edge in the 21st century. The objective of the research was to study the approaches to enhance the capabilities of digital technology to improve the competitive advantage in the steel industry, focusing on the case study of Baosteel. The research methodology employed qualitative research techniques. The sample consisted of 100 Baosteel employees using a purposive sampling method. The data collection instrument utilized an interview questionnaire, and the data analysis method was content analysis. <br />The results of the research revealed that the approaches to enhance the capabilities of digital technology to improve the competitive advantage in the steel industry included: Legacy systems (18%), which meant upgrading existing systems, modifying new systems, or integrating old systems with new systems to make the organization ready to support new technologies; Skills gap (16%), which meant the organization needed to continuously invest in developing the skills of employees to cope with changes and fully utilize new technologies; Data management (16%), which required organizations to have an effective data management system for data collection, storage, analysis, data security, and protection against cyberattacks; Resistance to change (14%) was also recognized as a continuing challenge, requiring clear communication and employee engagement. Opportunities related to digital transformation included increased efficiency (12%), improved product quality (9%), and cost reduction (8%). These were identified as key goals for organizations to focus on to enhance their competitiveness. The increasing importance of customer experience (5%) and new business models (3%) were also recognized, highlighting the need for differentiation and innovation. In summary, organizations involved in this type of industry could apply the research results and create opportunities to utilize technology to create competitive advantages, such as improving old systems with modern technology, developing employees' technological skills, and increasing the efficiency of the organization's information management to create efficiency in generating differences and innovations in seeking future organizational competitiveness.</p> Chen Nan, Tachakorn Wongkumchai, Uswin Chaiwiwat, Chulalux Soprakan Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารเพื่อพัฒนาท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc/article/view/797 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0700 The Influencing Factors Affecting Low-Code Technology Adoption: A Case Study of the Small and Medium-Sized Advertising Agencies in China https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc/article/view/832 <p>Low-code development platforms (LCDPs) were transforming software development by enabling individuals with limited coding skills to create applications. This was particularly relevant for Small and Medium-Sized Advertising Agencies (SMAs) striving for efficiency, agility, and digital innovation in a competitive market. However, the adoption of LCDPs in SMAs was influenced by various technological, organizational, and economic factors.</p> <p> This study aimed to identify the key factors influencing the adoption of LCDPs in SMAs and provide practical guidance for their implementation. A mixed-methods approach was employed, incorporating both quantitative and qualitative research methods. Data were collected from 112 respondents, comprising IT developers and non-IT personnel in SMAs, through a questionnaire and in-depth interviews. Multiple linear regression analysis was conducted to determine the significant predictors of LCDP adoption.</p> <p> The results revealed that cost considerations (β = 0.211) and perceived security risks (β = 0.260) emerged as the most significant factors influencing LCDP adoption in SMAs. While perceived efficiency, ease of use, and reduced IT dependency were also contributing factors, their influence was less pronounced than cost and security concerns.</p> <p> The study concluded that SMAs were increasingly recognizing the potential of LCDPs to enhance digital innovation and operational efficiency. However, successful adoption hinged on addressing economic factors, such as providing affordable pricing models, and fostering trust by prioritizing robust security features and transparent communication about data protection. These findings provided valuable insights for LCDP providers and SMAs, guiding the development and implementation of these platforms to maximize their potential in the dynamic advertising industry.</p> Yang Jingchuan, Tachakorn Wongkumchai, Uswin Chaiwiwat, Chulalux Soprakan Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารเพื่อพัฒนาท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc/article/view/832 Thu, 14 Nov 2024 00:00:00 +0700