การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรม บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี, บ้านโพธิ์กอง, จังหวัดสุรินทร์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาและสภาพทั่วไปชุมชนบ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 2. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การอนุรักษ์วัฒนธรรม บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 3. เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรม บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามก็บข้อมูล จำนวน 233 คน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยแบนมาตรฐาน ความแปรปรวน และค่าแจกแจงแบบที่ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครจำนวน 8 คน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ สังเคราะห์เป็นประเด็นร่วมหรือประเด็นหลัก และอภิปรายเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรม บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาทจังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นของประชาชนทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรม บ้านโพธิ์กองตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ผลการศึกษาพบว่า พบว่า ประชาชนที่มีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพ และความเป็นคนในท้องถิ่น(โดยกำเนิด) แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน และอาชีพ แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) การมีส่วนร่วมของประชาชนใการอนุรักษ์วัฒนธรรม บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ให้ขาวบ้านนั้นมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากขึ้นและเสนอความคิดเห็นและโต้แย้ง มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ในชุมชน กับ การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมเก่าแก่ เพื่อให้ชาวบ้านนั้นมีการมีส่วนร่วมของการทำกิจกรรมในชุมชนได้เยอะขึ้น ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ให้มีการริเริ่มการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ เพื่อที่ประชาชนมาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี เพื่อรักษาความเป็นอยู่ของวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาไปเรื่อยจรถึงปัจจุบัน และยังช่วยกันเผยแพรไปในสื่อ ๆ ต่าง ไม่ว่าจะเป็นการสอนลูกหลาน การลงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้วัฒนธรรมนั้นยังคงอยู่เป็นที่จดจำ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ให้ประชาชนมีความตระหนักและเห็นถึงคุณค่าประโยชน์ของการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี และสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมไปใช้หรือเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง และกับชุมชนได้ และได้เผยแพร์ให้คนรุ่นหลังต่อไปในอนาคตด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล การให้ประชาชนนั้นเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ในการอนุรักษ์วัฒนธรรม เพื่อที่ปะชาชนนั้นนจะได้ติดตามการมีส่วนร่วมในการประเมินผล
Downloads
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2551). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลาคม.
จินตนา สุจจานันท์. (2549). การศึกษาและพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พรินติ้ง แมสโปรดักส์.
จิราภรณ์ ศรีคำ. (2547). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนวชิรวิทย์ ระดับประถมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชวลิต ชูกำแพง. (2550). การประเมินการเรียนรู้. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชิต นิลพานิช และกุลธน ธนาพงศธร. (2532). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา ชนบท.ในเอกสารการสอนชุดวิชาความรู้ทั่วไปาหรับการพัฒนาระดับตำบลหมู่บ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 3). หน่วยที่ 8นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2546). การมีส่วนร่วมหลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณี ตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: 598 Print.
ประพันธ์ สร้อยเพ็ชร. (2547). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์โรงเรียนตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่.
พจนา เอกบุตร. (2556). ชุมชนลำปางหลวงกับการจัดการมรดกวัฒนธรรม: กรณีศึกษางานประเพณียี่สาพระธาตุเจ้า อำเภอเกคา จังหวัดลำปาง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
พรพพงษ์ศักดิ์ สนุตมโน. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน เทศบาลเมืองสระแก้สระแก้ว.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธวัชชัย สนติธมโม. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และพรรณทิพย์ เพชรมาก. (2551). การบริหารสังคม ศาสตร์แห่งศตวรรษเพื่อสังคมไทยและสังคมโลก. กรุงเทพมฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การจัดการศึกษาโดยชุมชน เพื่อชุมชนและสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยร่มเกล้า.
รันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2531). การพัฒนาชนบมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วีรนุช วอนเก่าน้อย และคณะ. (2560). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการป่าชุมชนบ้านหินฮาวอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.