นวัตกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และวิธีการวัดประเมินผลที่หลากหลายด้วย PAR Model: กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • นันนกรฐ์ ทิพย์สูงเนิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, การวัดประเมินผล

บทคัดย่อ

นวัตกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และวิธีการวัดประเมินผลที่หลากหลายด้วย PAR Model เป็นการตอบสนองต่อปัญหาคุณภาพการศึกษาในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ที่พบว่าการจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมและการวัดประเมินผลที่ไม่หลากหลายส่งผลต่อการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อ 1) สร้างนวัตกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และวิธีการวัดประเมินผลที่หลากหลายด้วย PAR Model: กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 2) ประเมินนวัตกรรมฯ และ 3) ศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมฯ เป็นวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 361 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 3) แบบประเมินนวัตกรรมฯ และ 4) แบบประเมินการใช้นวัตกรรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และวิธีการวัดประเมินผลที่หลากหลายด้วย PAR Model: กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 มีผลการประเมินของนวัตกรรมฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินการใช้งานนวัตกรรมฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

         ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่านวัตกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และวิธีการวัดประเมินผลที่หลากหลายด้วย PAR Model: กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการวัดประเมินผลที่หลากหลาย โดยได้รับการประเมินในระดับมากที่สุดทั้งด้านประสิทธิภาพและการใช้งานจริง ซึ่งสะท้อนถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทของสถานศึกษา นวัตกรรมนี้ประสบความสำเร็จในการตอบสนองต่อปัญหาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียน ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของ PAR Model ในการเป็นแนวทางสำหรับการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างยั่งยืนในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561-2562. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงลึก. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. ASHE-ERIC Higher Education Reports.

Brookhart, S. M. (2015). Performance assessment : showing what students know and can do. West Palm Beach : Learning Sciences International.

Darling-Hammond, L., Flook, L., Cook-Harvey, C., Barron, B., & Osher, D. (2019). Implications for Educational Practice of the Science of Learning and Development. Applied Developmental Science, 1-44. https://doi.org/10.1080/10888691.2018.1537791

Darling-Hammond, L., Flook, L., Cook-Harvey, C., Barron, B., & Osher, D. (2020). Implications for educational practice of the science of learning and development. Applied Developmental Science, 24(2), 97-140. https://doi.org/10.1080/10888691.2018.1537791

Davis, F. (1989) Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13, 319-340. https://doi.org/10.2307/249008

Freeman, S., Eddy, S. L., McDonough, M., Smith, M. K., Okoroafor, N., Jordt, H., & Wenderoth, M. P. (2014). Active learning increases student performance in science, engineering, and mathematics. Proceedings of the National Academy of Sciences, 111(23), 8410-8415.

Fullan, M. (2016). The New Meaning of Educational Change (5th ed.). Teachers College Press.

Gifkins, J. (2015). What Is ‘Active Learning’ and Why Is It Important?. E-international relations. [Online], Available: http://www.e-ir.info/2015/10/08/what-is-active learning-and-why-is-it-important. (2019, 23 January).

Partnership for 21st Century Skills. (2019). Framework for 21st century learning. http://www.battelleforkids.org/networks/p21/frameworks-resources

Prince, M. (2004). Does active learning work? A review of the research. Journal of Engineering Education, 93(3), 223-231. https://doi.org/10.1002/j.2168-9830.2004.tb00809.

Rogers, E.M. (2003). Diffusion of Innovations. Free Press, New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-09-2024