การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนบ้านสะเดาใหญ่ตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • นกน้อย สุดดี บ้านสะเดาใหญ่ ตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, บ้านโนนสวายน้อย, การพัฒนาชุมชน, เทศบาลตำบลนุแกรง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนบ้านสะเดาใหญ่ ตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนบ้านสะเดาใหญ่ ตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนบ้านสะเดาใหญ่ ตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขุขันธ์จังหวัดศรีสะเกษ โดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก แบบบันทึกการสังเกตุ การสนทนากลุ่ม เครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ (interviewschedule) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPรS และใช้สถิติค่าความถี่ (frequrencies) ค่าร้อยละ(percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าต่ำสุด (minimum) ค่าสูงสุด (maixmum) โดยผู้ร่วมจำนวน165 ราย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างธันวาคม 2566 - มีนาคม 2567ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนบ้านสะเดาใหญ่ ตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅=๓.๒๕) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (x ̅=๓.๒๖) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (x ̅=๓.๒๘) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (x ̅=๓.๑๒) และด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (x ̅=๓.๓๕ ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนบ้านสะเดาใหญ่ อำเภอ ขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ประชาชนที่มีอาชีพและ (2) ระดับการศึกษาต่างกันการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนบ้านสะเดาใหญ่ ตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.0๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี เพศ! และ รายได้ต่างกัน มีส่วนร่วมในกรพัฒนาชุมชนบ้านสะเดาใหญ่ ตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. ปัญหาอุปสรรคและและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนบ้านสะเดาใหญ่ ตำบลสะเดาใหญ่ ตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 1) การตัดสินใจวันทeงานไม่ตรงกัน เสียงประชาสัมพันธ์ ไม่ ค่อยได้ยินเสียง บางจุดเสียงตามสาย ไม่ทั่วถึง จึงท าให้ ไม่ได้รับข่าวสารเท่าที่ควร ๒) การด าเนินงาน ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่น้อย ประชาชนขาดความรู้ และหน่วยงานล่าช้า แก้ไขปัญหาไม่ ตรงจุด ประชาชนมีอายุมากแล้ว ไม่สะดวกเข้าร่วมงานกับชุมชนบ่อยนัก ๓) การรับผลประโยชน์ ชุมชนของบประมาณจะไม่ค่อยได้รับผล ท าเรื่องยื่นขอไป หลายชุมชน เลยท าให้บางชุมชนไม่ได้รับ การอนุมัติให้เกิดการพัฒนาชุมชน ๔) การประเมินผประชาชนขาดความร่วมมือ ไม่มีความรู้เรื่อง แผนพัฒนา หน่วยงานยังไม่ชัดในเรื่องแก้ไขปัญหาในชุมชน ประชาชนที่ค้าขายให้ความร่วมมือของคน ในชุมชนยังขาดการประสานงานให้มีส่วนร่วมกิจกรรม ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ๑) การตัดสินใจ ควรมีการเพิ่มช่องการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร เสียงตามสายให้ทั่วถึง หน่วยงานควรให้ความสำคัญชุมชนทุกชุมชนให้เท่ากันในการส่งงบประมาณให้ชุมชนได้พัฒนา ถ้ามีการประชุมควรเห็นเป็นวันหยุดหรือวันว่างงาน ๒) การดำเนินงานอยากให้ผู้ใหญ่บ้านพบปะประชาชนให้บ่อยๆ อยากให้ทางเจ้าหน้าที่บ้านเมืองปฏิบัติหน้าที่เข้มงวดกวาดล้าง ยาเสพติด อยากให้มีงานสำหรับวัยรุ่นในวัยเรียน ทำให้สร้างรายได้ช่วยเหลือครอบครัว ๓) การรับผลประโยชน์ ฝึกอบรมประชาชนให้ความรู้ ความเข้าใจให้ความสำคัญทุกชุมชน และให้บริการที่ทั่วถึงทุกชุมชนได้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างจริงจังอยากให้ดูแลผู้สูงอายุได้มีคุณภาพที่ดีกว่านี้ ในด้านอาชีพกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การเจ็บป่วยที่มีหมอ มียาให้ทันเห็นการณ์ยามลูกหลานไม่ช่วยดูแล ๔) การประเมินผลควรให้มีตู้แดงประจำชุมชน สอบถามถึงปัญหาให้แท้จริง ปฏิบัติจริง ในการแก้ไขเจาะให้ตรงประเด็นนั้นๆ ควรมีการแจ้งผลประเมินให้ประชาชนได้ทราบอย่างทั่วถึงทางอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านการบริการจัดหางาน. กรุงเทพฯ: กองแผ่นงานและสารสนเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.

โกวิทย์ พวงงาม. (2544). การปกครองท้องถิ่นไทยหลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

การปกครองท้องถิ่น. (2546). ไทยหลักการและมิติใหม่ในอนาคต (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิญญูชน.

ณัฐนรี ศรีทอง. (2552). การเพิ่มศักยภาพภาวะความเป็นผู้นำในงานพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ดิเรก ก้อนกลีบ และวิชล มนัสเอื้อศิริ. (2530). การพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2546). การมีส่วนร่วมหลักการพื้นฐานเทคนิคและกรณีตัวอย่าง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สิริลักษณ์การพิมพ์.

นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. (2546). การพัฒนาองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศน์. (2550). แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทย.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี.กราฟฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

ประทาน คงฤทธิ์ศึกษากร. (2542). ทฤษฎีการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

ประเวศ วะสี. (2541). ประชาคมตำบลยุทธศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจพอเพียงศีลธรรมและสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มติชน.

ปรัชญา เวสารัชซ์. (2528). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกินกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพรรณี ไชยอำพร และสนิท สมัครการ. (2543). การวิเคราะห์สังคมเพื่อพัฒนาแนววิธีการ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การคลังสินค้า และพัสดุ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-11-2024