การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านโพธิ์กองตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • วิไลวรรณ สุขพูน บ้านโพธิ์กอง ตําบลเชื้อเพลิง อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก, บ้านโพธิ์กอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านโพธิ์กอง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านโพธิ์กอง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านโพธิ์กอง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล จำนวน 233 คน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ความแปรปรวน และค่าแจกแจงแบบที ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัคร จำนวน 8 คน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ สังเคราะห์เป็นประเด็นร่วมหรือประเด็นหลัก และอภิปรายเนื้อหา

        ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นของประชาชนทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีเพศ รายได้และสถานะเฉลี่ยต่อเดือน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมแตกต่างกัน โดยรวมแล้วก็ไม่ต่างกัน ดังนั้นสมมติฐานจึงถูกปฏิเสธ ส่วนผู้สูงอายุระดับการศึกษาและอาชีพมีความคิดเห็นการมีส่วนร่วมแตกต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.0 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้และ 3.การมีส่วนร่วมของประชาชนในพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจชุมชนมีความสามัคคีในชุมชน และส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นตัดสินใจเลือกกิจกรรมพัฒนาชุมชน และควรมีการประชุมปรึกษาหารือ ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินโครงการต่างๆเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ให้มีการริเริ่มการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ! เพื่อที่ประชาชนมาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กและยังช่วยกันเผยแพรไปในสื่อ 1 ต่าง ไม่ว่าจะเป็นการสอนลูกหลาน ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ให้ประชาชนมีความตระหนักและเห็นถึงคุณค่าประโยชน์ของการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กและสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมไปใช้หรือเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง และกับชุมชนได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

จินตนา สุจจานันท์. (2549). การศึกษาและพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พรินติ้ง แมสโปรดักส์.

จิราภรณ์ ศรีคำ. (2547). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนวชิ รวิทย์ ระดับประถมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วม ของชุมชนกับโรงเรียนประถศึกษาในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงวุฒิ เรืองวาทศิลป์. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาใน พื้นที่บริการของโรงเรียนล้อมแรดวิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2546). การมีส่วนร่วมหลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณี ตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: 598 Print.

ไพบูลย์ วัฒศิริธรรม และพรรณทิพย์ เพชรมาก. (2551). การบริหารสังคมศาสตร์แห่งศตวรรษเพื่อสังคมไทยและสังคมโลก. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การจัดการศึกษาโดยชุมชนเพื่อชุมชนและสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยร่มเกล้า.

รันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). การสื่อสารทางการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-11-2024