การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนบ้านระกาไกรศร ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ พินงรัมย์ กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดสุรินทร์ที่ 1 กม.9 ต.เฉนียง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ ไปรษณีย์ 32000

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ประชาชน, ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนบ้านระกาไกรศร ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และการประกอบอาชีพที่ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในชุมชนบ้านระกาไกรศร ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 238 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเยี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบคือ IndependentSample T-Test และ One way Anova ในกรณีที่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

        ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนบ้านระกาไกรศร ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ เป็นด้านที่มีระดับสูงที่สุด รองลงมา ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามลำดับ และสุดท้ายด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล 2 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนบ้านระกาไกรศรตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำแนกตามเพศ พบว่าไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ ระดับการศึกษา และการประกอบอาชีพที่ต่างกัน พบว่า มีระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัญหาอุปสรรค ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พบว่า มีสาเหตุปัญหา คือ พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก และ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในกาป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พบว่า มีการเสนอแนะว่า ควรแนะแนวข้อเสียของยาเสพติดให้กลุ่มเสี่ยง และ จัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธัญญาลักษณ์ ใจที่ยง. (2563). การมีส่วนของประชาชนในชุมชนเขตพระนคร กรุงเทพมหานครต่อการพัฒนาทักษะเยาวชนไทย 4.0. กรุงเทพ: สถาบันบัณฑิตพัฒศิลป์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องตัน (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชรา วงศ์แสงเทียน และสุกณา พัฒนเวช. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลทับยายเชียง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

มาลิ เข็ญจะม โน. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยกะปิ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: บริษัทนานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

สิน พันธุ์พินิจ. (2555). เทคนิคการวางแผนและประเมินโครงการ Project planning andEvaluation Technique. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.สุรินทร์.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับนักบริหารท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-11-2024