แนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครองตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, บ้านโนนสวายน้อย, การพัฒนาชุมชน, เทศบาลตำบลนุแกรงบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาคลอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 2. เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวันาคลอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาคลอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
โดยคณะผู้วิจัยได้ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลการศึกษา และนำเสนอข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาคลอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ตามลำดับดังนี้
- เพื่อศึกษาการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จากการศึกษาพบว่า การจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย คือ ( = 4.07 , S.D. = 0.586) หากพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่า ปัจจัยการจัดการขยะครัวเรือน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย คือ ( = 9.20 , S.D. =0.714) รองลงมาคือ ปัจจัยการจัดการขยะชุมชน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย คือ ( = 3.97 , S.D. =0.836) โดยประชาชนในบ้านระวีนาคลองมีการจัดการขยะครัวเรือนกันเอง ด้วยวิธีการเผาขยะในพื้นที่ของตน หรือนำขยะที่มีมูลค่า เช่น ขวด กระป้อง หรือกระดาษ ไปขายให้กับร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่
- เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จากการศึกษาพบว่า ปัญหาในการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย คือ ( = 4.24 , S.D. = 0.579 หากพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่างบประมาณ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย คือ ( = 4.40 , S.D. = 0.716) รองลงมาคือ ปัจจัยสิ่งสนับสนุนในการจัดการขยะ อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย คือ ( = 4.05 , S.D. = 0.787) บ้านระวีนาคลองขาดการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชน ไม่มีบริการ รถเก็บขยะ ไม่มีถังขยะสาธารณะในชุมชน รวมถึงมีการลักลอบนำขยะไปทิ้งในที่สาธารณะของชุมชน
- เพื่อเสนอแนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จากการศึกษาพบว่า มีข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ได้แก่ ส่วนกลางควรจัดสรรงบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์ในการจัดการขยะในชุมชน เช่น รถเก็บถังขยะสาธารณะและส่วนกลางควรจัดสรรค์งบประมาณในการว่าจ้างบุคลากรเข้ามารับผิดชอบการจัดการขยะพื้นที่บ้านระวีนาคลอง
ผลการศึกษาแนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาคลองตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พบว่าประชาชนในชุมชนมีการจัดการขยะครัวเรือนด้วยวิธีการเผา เพราะเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด โดยพวกเขามักแยกขยะที่มีมูลค่า เช่น ขวด กระป้อง หรือกระดาษออกมา เพื่อนำไปขายให้กับร้านรับซื้อของเก่าภายในและนอกพื้นที่ หรือนำเอาขยะที่มีมูลค่ามาใช้ใหม่ (Re-Use) เช่น นำเอาขวดพลาสติก มาใช้เป็นภาชนะใส่เครื่องดื่ม หรือนำเอายางรถจักรยานยนตร์ มาใช้เป็นสิ่งสำหรับรัดของต่างๆ เช่น สายยาง หรือท่อน้ำต่างๆ ในขณะที่ปัญหาที่เป็นอุปสรรค์ต่อการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชน คือ การขาดการสนับสนุนงบประมาณ หรือผู้รับผิดชอบในการจัดการขยะในชุมชน ทั้งยังมีการนำขยะมาทิ้งในที่สาธารณะในชุมชน ปัญหาหมอกควันจากการเผาขยะของประชาชนในชุมชนเอง โดยภาครัฐควรจัดสรรค์งบประมาณมาสนับสนุนการจัดการขยะในชุมชนอย่างจริงจัง ต้องมีงบประมาณ มีเจ้าหน้าที่ และมีแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมเพื่อให้การจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนของบ้านระวีนาคลอง เป็นไปอย่างสะดวก รวมถึงควรปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนในชุมชนรักท้องถิ่นของตนเพื่อช่วยเป็นหูเป็นตาสอดส่องป้องกันการลักลอบนำขยะมาทิ้งในที่สาธารณะของชุมชน
Downloads
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2555). คู่มือประชาชนการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธีและเพิ่มมูลค่า (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: บริษัท ฮีซ์ จำกัด.
กรมควบคุมมลพิษ. (2560). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: บริษัทวงค์สว่างพับลิชซิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด.
กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: บริษัท วงคส์สว่างพบลิซซิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2545). การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ดอกเบี้ย.
เกษม จันทร์แก้ว. (2527). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กองอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2535). พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535. กรุงเทพฯ: สำนักอนามัย.
เกษม จันทร์แก้ว. (2540). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เกษม จันทร์แก้ว. (2541). เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชิดชัย บุญพิทักษ์. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จังหวัดลพบุรี.
จารุวัฒน์ ติงหงะ. (2560). แนวทำงกำรพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายในมหาวิททยาลัยราชภัฏภูเก็ต ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
นพรัตน์ เที่ยงคำดี. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
เทวัญ พัฒนาพงศักดิ์. (2540). การแยกมูลฝอยและการจัดการมูลฝอยที่แยกแล้วในแหล่งกำเนิดต่างๆ ในเขตเทศบาลเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนพร พนาคุปต์. (2538). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนที่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เรศ ศรีสถิตย์. (2553). วิศวกรรมการจัดการมูลฝอยชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
นวลพรรณ ปิติธรรม. (2538). การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครระหว่างกรณีที่มีการคัดแยกกับกรณีไม่มีการคัดแยก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นพรัตน์ เที่ยงคำดี. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
บัณฑูร อุทัยวัฒน์. (2536). การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยก่อนกำจัดครั้งสุดท้ายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ณ โรงงานกำจัดมูลฝอยอ่อนนุช [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].
ปวี จำปาทอง. (2538). ปัจจัยทางสังคมและจิตวิทยาที่มีต่อพฤติกรรมการแยกทิ้งขยะในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].
พัชรี หอวิจิตร. (2529). การจัดการขยะมูลฝอย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พัตสร พรหมทอง. (2540). ศักยภาพของการคัดแยกมูลฝอยเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า.
พัฒนา มูลพฤกษ์. (2539). อนามัยสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ห.จ.ก. เอ็น เอส แอล พริ้นติ้ง.
ยุพดี เสตพรรณ. (2544). ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: พิศิษฐการพิมพ์.
สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม. (2539). คู่มือการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์.
อาณัติ ต๊ะปีนตา. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อัชรี เอกโทชุน. (2540). การศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะของประชาชนในเทศบาลเพชรบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.