การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของคนในชุมชนบ้านนาตังตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ณภัสวรรณ ศาลางาม ตําบลนอกเมือง อําเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย, บ้านนาตัง, ตำบลเขวาสินรินทร์, อำเภอเขวาสินรินทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1). เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของคนในชุมชนบ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์จังหวัดสุรินทร์ 2). เพื่อศึกษาการสร้างมูลค่าขยะของคนในชุมชนบ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 3). เพื่อหาแนวทางและมาตรการในการจัดการขยะมูลฝอยของคนในชุมชนบ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ กลุ่มประชากรในชุมชนบ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์จังหวัดสุรินทร์ มีประชากรทั้งหมด ครัวเรือน จำนวน 181 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็น 4 คุ้ม 1). คุ้มศรัทธาธรรม 2). คุ้มนำสามัคคี 3). คุ้มศรีประชา 4). คุ้มบุราสันติ จำนวน 504 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโรยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งหมด 223 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายเปิดและปลายปิดมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเชิงปริมาณเท่ากับ ค่าความเชื่อมั่นที่ 95% ที่นัยสำคัญ 0.05 ทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที (t) ค่าเอฟ (1) วิเคราะห์ความแปรปรวทางเดียว ในกรณีที่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทำการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยวิธีผลนัยสำคัญน้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย (x) และค่าเบียงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก(n - depth Interview) เป็นเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 223 คน ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน กลุ่มอาสาสมัคร 4 คน และกลุ่มคนในชุมชน 223 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัย พบว่า

  1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอย บ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นของประชาชนทั้งค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
  2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของคนในชุมชนบ้านบ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ตามประเภท 6 ด้าน การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของคนในชุมชนบ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยจำแนกตามสถานภาพบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษารายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ สถานภาพพบว่าคนในชุมชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษารายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ สถานภาพ แตกต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของคนในชุมชนบ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของคนในชุมชนบ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมุติฐาน
  3. แนวทางการการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของคนในชุมชนบ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ด้านการลดปริมาณขยะมูลฝอย ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะมูลฝอยในเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาในชุมชนกับ การจัดการขยะมูลฝอย และ ชาวบ้านให้ความสำคัญกับการลดปริมาณขยะมูลฝอย อย่างสม่ำเสมอ และภายในชุมชนนั้นมีความร่วมมือในการลดปริมาณขยะมูลฝอยอย่างดี ด้านการนำกลับมาใช้ช้ำ คนในชุมชนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการแปรรูปสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว นำสิ่งของที่ใช้ไม่ใช้แล้วมาทำเป็นวัสดุต่างๆเพื่อใช้งนต่อได้ในหลากหลายรูปแบบ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ คนในชุมชนมีความตระหนัก และเห็นถึงคุณค่าประโยชน์ของการการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน และสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง และกับชุมชนได้ และได้เผยแพร่ให้คนรุ่นหลังต่อไปในอนาคต ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล โดยภาพรวมเล็งเห็น ชาวบ้านติดตามการประเมินผลเป็นอย่างดี

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2538). การพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชนโดยถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง กรุงเทพฯ: สามัคคีสาส์น

กานดาภร ไชยปากด. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหาร ส่วนตำบลบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวดหนองคาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เกษม จันทร์แก้ว. (2550). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เฉลิม มีระสิงห์. (2556). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของประชาชนบ้านป่าชาด ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จิรพัฒน์ หงส์ทอง. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยเทศบาลตำบลบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทรนง ศรีมันตะ. (2556). รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านโคกสำราญ ตำบลโคกสำราญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เทวัญ พัฒนาพงศ์ศักดิ์.(2540). การแยกมูลฝอยและการจัดการมูลฝอยที่แยกแล้วในแหล่งกำเนิดต่างๆ ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2542). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างประเทศ NGOและองค์กรประชาชุมชน. ขอนแก่น: คลังนาวิทยาการพิมพ์

นันทพร มณีรัตน์. (2551). การจัดการขยะมูลฝอยในครอบครัวของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพฯ: สุวี ริยาสาส์น.

ปภาวรินท์ นาจำปา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิยภัทร สายนรา. (2552). การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชน :กรณีศึกษาชุมชนวัดพระธาตุหนองบัว 1 เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี.วิ[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-11-2024