พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน
คำสำคัญ:
พฤติกรรมทางสังคม, พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งบทคัดย่อ
พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนประกอบด้วยมุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์ที่เป็นการศึกษาถึงความชอบด้วยเหตุผลของมนุษย์มาใช้ในการตัดสินใจทางการเมืองโดยการลงคะแนนเสียงเป็นการนํามาซึ่งประโยชน์หรือเป้าหมายทางการเมืองที่ประชาชนต้องการและเป็นต้องกระทำด้วยความละเอียดรอบคอบมุมมองเชิงสังคมวิทยาเป็นการแสดงให้เห็นว่าสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของบุคคลเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่แตกต่างของบุคคลในการเลือกตั้ง และมุมมองเชิงจิตวิทยามุ่งให้ความสนใจต่อปัจจัยทางด้านความรู้สึกหรือความผูกพันทางการเมือง พฤติกรรมการเลือกตั้งที่มองว่าพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นปรากฏการณ์ของการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างหนึ่งซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มีปัจจัยเกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมากเพราะพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นผลมาจากการตัดสินใจภายใต้สภาวะแวดล้อม บุคลิกภาพ และความสนใจของแต่ละคน แนวความคิดกลุ่มนี้เป็นที่สนใจในหมู่นักวิชาการด้านสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งให้ความสนใจอิทธิพลของสถานภาพ ด้านเศรษฐกิจและสังคมเพราะเห็นว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน
References
Chitil Khumkhong. (1997). Election behavior of citizens under the Constitution B.E. 2540: A case study of the election of Members of Parliament, District 2, Chonburi Province. Master’s thesis in Public Administration, Graduate School: Burapha University.
Chanidapha Mongkolleuslop. (2016). An appropriate electoral system for Thailand: A case study of the mixed-member proportional system. Master’s thesis in Law, Graduate School: National Institute of Development Administration.
Theerapat Serirangsang & Colleagues. (2005). Evaluation of the work performance of independent organizations under the Constitution: The Election Commission. Research Report. King Prajadhipok's Institute.
Boonsee Meevong-ukos. (1999). Elections and political parties: Lessons from Germany. Bangkok: Institute of Policy Studies.
Prasit Thongun & Colleagues. (n.d.). Human behavior and human development. Project on developing educational media to promote self-learning for students.
Puangpetch Surattanakaveekul. (1999). Humans and society (2nd ed.). Bangkok: Kasetsart University.
Wikipedia. (2020). Elections in Thailand. [Online]. Retrieved from https://th.wikipedia.org/wiki/ [August 1].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์สมัยใหม่ (Online)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.