ลาภในทางพุทธศาสตร์และนิติศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พระปลัดสมหมาย สุรปญฺโญ Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  • ณัฎฐ์ อุตรวิเชียร Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  • สมพร ศิริพันธ์ Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

ผู้ได้ลาภงอก, ลาภ, ลาภมิควรได้, โลกธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษา 1. ลาภในทางพุทธศาสตร์ 2. ลาภในทางนิติศาสตร์ โดยใช้การศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) ผลการศึกษาพบว่า ลาภในทางพุทธศาสตร์ ที่ปรากฏในสุตตันตปิฎก ได้กล่าวถึงความหมายของ “ลาภ” ไว้ใน “โลกธรรม 8” มี 2 ลักษณะ คือ 1. มีลาภ หมายถึง สิ่งที่ทุกคนอยากได้ เป็นสิ่งที่ชอบพอใจ ปรารถนา 2. เสื่อมลาภ หมายถึง สิ่งที่สูญเสียไป ซึ่งเป็นธรรมดาของโลก หากได้มาแล้วย่อมเสื่อมย่อมเสียไป เอตทัคคะด้านผู้มีลาภมากในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในพระพุทธศาสนาเถรวาท และพระโพธิสัตว์ชัมภล (ท้าวกุเวร) เอตทัคคะในพระพุทธศาสนามหายาน ส่วน ลาภที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ โดยที่สุดแม้ก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน ด้วยชายผ้า” และ “อาบัติที่เกิดจากลาภ” นั้น ได้กล่าวไว้ว่า ลาภที่เขาน้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่า “เขาน้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน” เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ลาภในทางนิติศาสตร์ ที่ปรากฏในกฎหมายไทย ได้แก่ 1. ลาภมิควรได้ หมายถึง ทรัพย์สิ่งใดที่บุคคลหนึ่งได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ บุคคลที่ได้ทรัพย์มานั้นมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา ...” 2. ผู้ได้ลาภงอก หมายถึง บุคคลที่ทำนิติกรรมกับลูกหนี้โดยตรงและได้รับประโยชน์จากนิติกรรมนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 วรรคหนึ่ง วางหลักว่า “เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ...”

References

กรมศิลปากร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สมาพันธ์ จำกัด. 2543.

คณะวิชาการ The Justice Group. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-6 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ล่าสุด พ.ศ. 2564). กรุงเทพมหานคร: พิมพ์อักษร. 2564.

สมยศ เชื้อไทย. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับใช้เรียน). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน. 2567.

พรชัย สุนทรพันธุ์. คำอธิบาย กฎหมายลักษณะมรดก. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา. 2566.

มานิตย์ จุมปา. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์สิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2565.

ดาราพร ถิระวัฒน์. กฎหมายหนี้ หลักทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา. 2567.

เดือนเด่น นาคสีหราช. สรุปหลักกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ (ฉบับพร้อมสอบ). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน. 2567.

ประยงค์ แสนบุราณ. พุทธศาสนาเถรวาท. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา. 2559.

ปิ่น มุทุกันต์. พุทธศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย. 2535.

ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสมัย. 2543.

พระธรรมกิตติวงศ์, (ทองดี สุรเตโช, ราชบัณฑิต). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสนา “คําวัด”. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา. 2551.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2552.

สุพิศ ปราณีตพลกรัง. หลักและทฤษฎีกฎหมายแพ่ง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม. 2566.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส และคณะ. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน. 2565.

จันตรี สินศุภฤกษ์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม. 2565.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.

________. พระวินัยปิฎก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2551

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. พุทธสาวก พุทธสาววิกา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา. 2555.

องอาจ ศรียะพันธ์. “รูปเคารพในพุทธศาสนามหายานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 พบที่เมืองสทิงพระ”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533.

อุษา โพธิกนิษฐ. “การศึกษารูปแบบและคติการนับถือพระกุเวรในสมัยทวารวดี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2527.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

สุรปญฺโญ พ. ., อุตรวิเชียร ณ. ., & ศิริพันธ์ ส. (2024). ลาภในทางพุทธศาสตร์และนิติศาสตร์. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์สมัยใหม่ (Online), 1(6), 1–18. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/J_ASS/article/view/1093

ฉบับ

บท

Academic Articles

หมวดหมู่