https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JISES/issue/feed
วารสารสหวิทยาการศึกษาครุศาสตร์
2025-04-30T00:00:00+07:00
ดร.อุทัย วรเมธีศรีสกุล
kengmethi@gmail.com
Open Journal Systems
<p>ยินดีต้อนรับสู่วารสารสหวิทยาการศึกษาครุศาสตร์ Journal of Interdisciplinary Study Education Science (JISES) ISSN: 3088-148X (Online) มีวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ ผู้บริหาร ครู นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป JISES มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่เนื้อหาที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการศึกษาอย่างเข้มงวด ให้มีความน่าเชื่อถือ และมีมาตรฐานตามหลักวิชาการ รับเผยแพร่บทความด้านศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ การบริหารการศึกษา สันติศึกษา หลักสูตรและการสอน การวิจัยและประเมินผลการศึกษา การศึกษาเพื่อการพัฒนา เทคโนโลยีและการสื่อสารทางการศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา นาฏศิลป์ศึกษา พุทธศาสนศึกษา สังคมศึกษา ภาษาศาสตร์ การสอนภาษาไทย การสอนภาษาอังกฤษ ภาษาศาสตร์อาเซียน คณิตศาสตร์ศึกษา ดนตรีศึกษา คอมพิวเตอร์ศึกษา ศิลปศึกษา ธุรกิจศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว ครุศาสตร์อุตสาหกรรม การศึกษาอาชีวศึกษา การศึกษาพิเศษ สหวิทยาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องด้านศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์ เชิงประยุกต์นวัตกรรมศาสตร์สมัยใหม่ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>วารสารสหวิทยาการศึกษาครุศาสตร์ JISES มีอัตลักษณ์ และเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเผยแพร่เนื้อหาบทความคุณภาพอย่างเข้มข้นด้านสหวิทยาการศึกษาครุศาสตร์ที่บูรณาการกับนวัตกรรมศาสตร์สมัยใหม่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะวารสารสหวิทยาการศึกษาครุศาสตร์ มีการแนะนำ และส่งเสริมให้ผู้นิพนธ์บทความเน้นศึกษาค้นคว้าและมีการอ้างอิงในวารสารวิชาการที่ผ่านการประเมินคุณภาพจาก TCI, ACI, Scopus, และ WOS ในระดับนานาชาติ ที่ผ่านการตรวจสอบและกลั่นกรองบทความต้นฉบับโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการศึกษาอย่างเข้มงวด อย่างน้อย 2 ท่าน ให้มีความน่าเชื่อถือ และมีมาตรฐานตามหลักวิชาการ โดยเฉพาะคณะบรรณาธิการของวารสารที่ทรงคุณวุฒิมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ตรงสาขาวิชาและศาสตร์ด้านการศึกษานี้โดยตรงจากหลากหลายหน่วยงาน เราภูมิใจที่ได้รับรองคุณภาพ ความสมบูรณ์ และความน่าเชื่อถือที่ทำให้ JISES เป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ หรือองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับ ไม่ว่าท่านจะเป็นนักวิจัยหรือนักวิชาการ และนิสิต นักศึกษาที่แสวงหาแหล่งความรู้และผลงานตีพิมพ์ที่ชัดเจน เพื่อการยกระดับและพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาผ่านกระบวนการพิจารณาคัดเลือกและประเมินคุณภาพตามมาตรฐานสากลของวารสารวิชาการ</p> <p> </p> <p><strong>วารสารสหวิทยาการศึกษาครุศาสตร์</strong></p> <p><strong>ชื่อย่อวารสาร</strong> : <strong>JISES (Journal of Interdisciplinary Study Education Science)</strong></p> <p><strong>ISSN: 3088-148X (Online)</strong></p> <p><strong>ปีที่เริ่มต้น :</strong> 2025</p> <p><strong>ภาษา : </strong>ไทย และ อังกฤษ</p> <p><strong>บรรณาธิการบริหาร</strong><strong> :</strong></p> <p>ดร.อุทัย วรเมธีศรีสกุล สถาบันพัฒนานวัตกรรมวิชาการ <strong> </strong></p> <p> วารสารสหวิทยาการศึกษาครุศาสตร์ JISES มุ่งมั่นที่จะรักษาความสมบูรณ์ของการดำเนินการจัดการตีพิมพ์งานวิชาการ และรักษาความเชื่อมั่นที่ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และผู้อ่านมีต่อวารสาร วารสารมุ่งมั่นที่จะจัดการกับกรณีการทุจริตต่อหน้าที่ในการตีพิมพ์โดยทันที และรักษามาตรฐานจริยธรรมสูงสุดตลอดกระบวนการจัดพิมพ์</p>
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JISES/article/view/1680
เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษที่ใช้ได้จริงในห้องเรียน
2025-04-04T16:29:36+07:00
กิตติธัช นาชัย
pm.kittidhat@gmail.com
<p>เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในบริบทของห้องเรียนไทย โดยมุ่งเน้นเทคนิคที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษอย่างรอบด้าน ทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน ตลอดจนเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 การวิเคราะห์เนื้อหาอ้างอิงจากงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการกลุ่ม TCI ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา <br />และอุดมศึกษา<br />เทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพและใช้ได้จริงในห้องเรียนไทย ได้แก่ (1) เทคนิค Flipped Classroom ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเตรียมความรู้ล่วงหน้าและใช้เวลาในห้องเรียนอย่างมีคุณภาพ (2) เทคนิค Think–Pair–Share ที่กระตุ้นการมีส่วนร่วมและฝึกการสื่อสารภาษาอังกฤษ (3) เทคนิคหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats) ที่ช่วยพัฒนาทักษะการคิดหลากมิติและการแสดงความคิดเห็นอย่างมีระบบ (4) การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่ส่งเสริมการลงมือปฏิบัติและการแก้ปัญหา และ (5) การใช้สื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพยนตร์ การ์ตูน หรือคลิปเสียง ที่ช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาและเข้าใจภาษาในบริบทจริงได้ดีขึ้น<br />โมเดล ACT-E ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ A – การมีส่วนร่วม, C – ความเชื่อมโยงกับบริบทชีวิตจริง, T – การผสมผสานเทคนิคอย่างเหมาะสม และ E – การประเมินผลที่เน้นการพัฒนาซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในห้องเรียนภาษาอังกฤษไทยได้หลากหลายบริบท โดยเน้นความยืดหยุ่น การมีส่วนร่วมของผู้เรียน และการเรียนรู้ที่นำไปใช้จริง<br />ข้อเสนอแนะคือครูผู้สอนควรมีความเข้าใจในเทคนิคที่หลากหลาย และสามารถปรับใช้ได้ตามบริบทของผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในห้องเรียนไทย</p>
2025-05-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการศึกษาครุศาสตร์
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JISES/article/view/1692
การสร้างนิเวศการเรียนรู้ในวิชาสังคมศึกษาสำหรับส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ
2025-04-04T16:14:43+07:00
อิสสรพงษ์ ไกรสินธุ์
kraisin1986@gmail.com
พระครูสุนทรวีรบัณฑิต
Kraisin1986@gmail.com
<p>การสร้างนิเวศการเรียนรู้ในวิชาสังคมศึกษาสำหรับส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน รวมถึงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งในระดับห้องเรียนและนอกห้องเรียน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะทางสังคม ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นนิเวศการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพควรประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) โครงสร้างห้องเรียนที่เอื้อต่อการทำงานกลุ่มและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (2) การออกแบบกิจกรรมที่ท้าทายและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ร่วมกัน และ (3) การสนับสนุนจากครูในบทบาทผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) มากกว่าการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรง<br />การจัดพื้นที่เรียนรู้ที่ยืดหยุ่น การใช้เทคนิคการสอนแบบ Jigsaw หรือ Think-Pair-Share รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างพื้นที่เรียนรู้นอกเวลาเรียน ทั้งนี้ การสร้างนิเวศการเรียนรู้ที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เท่านั้น แต่ยังพัฒนาทักษะความเป็นพลเมือง ทักษะชีวิต และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางอีกด้วย</p>
2025-05-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการศึกษาครุศาสตร์
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JISES/article/view/1716
การบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาสังคมศึกษากับพระพุทธศาสนาและพระวินัย
2025-04-04T21:16:32+07:00
พระปลัดสมศักดิ์ กตธมฺโม (โสรัตน์ถาวร)
sorattawons@gmail.com
<p>พระวินัยในพระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในหลายมิติ ทั้งในแง่ของการตีความตามบริบทสังคมและตามการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยในมุมมองแรก พระวินัยมีเจตนารมณ์เพื่อเสริมสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาและทำให้สอดคล้องกับค่านิยมของชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามหลักเสขิยวัตรและปาจิตตีย์ รวมถึงการปฏิบัติที่มุ่งสู่ความสงบและวิเวก ซึ่งถือเป็นวิธีการฝึกตนเองในป่าและธรรมชาติที่ส่งเสริมความสมดุลทางนิเวศ.<br />การตีความพระวินัยเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในกรณีที่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเผชิญกับการถูกทำลาย การตีความพระวินัยในบริบทนี้ยังคงยืนยันถึงความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติธรรมและการอนุรักษ์ธรรมชาติในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในชุมชนพระสงฆ์ที่มีบทบาทในการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยผ่านกระบวนการและพิธีกรรมต่างๆ เพื่อรักษาป่าไม้และธรรมชาติให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน</p>
2025-05-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการศึกษาครุศาสตร์
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JISES/article/view/1717
การเสริมสร้างการตื่นรู้เบิกบานในการเรียนรู้สำหรับนักเรียนโรงเรียนปริยัติธรรม
2025-04-04T22:39:04+07:00
พระมหาธีระพงษ์ กตเมธี (คืนรัมย์)
theerapongkuenram@gmail.com
<p>การศึกษานี้มุ่งเน้นการเสริมสร้างภาวะ “การตื่นรู้เบิกบานในการเรียนรู้” สำหรับนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม ซึ่งถือเป็นการศึกษาเชิงบูรณาการระหว่างหลักธรรมทางพุทธศาสนากับการจัดการเรียนรู้สมัยใหม่ โดยอาศัยกระบวนการสังเคราะห์จากแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการวิเคราะห์บริบทของผู้เรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในรูปแบบของ “โมเดล 3C-BAAN” ซึ่งเป็นแนวทางแบบองค์รวมที่เน้นพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านจิตใจ ปัญญา และจริยธรรม โมเดล 3C ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) Consciousness (จิตตื่นรู้) ที่เน้นการสร้างสติและการใคร่ครวญในตนเองตามหลักไตรสิกขา (2) Compassion (ความเมตตา) ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางจิตใจอันเกื้อกูลกับผู้อื่นผ่านการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และ (3) Contemplative Learning (การเรียนรู้แบบภาวนา) ซึ่งเป็นการบูรณาการพุทธธรรม เช่น อิทธิบาท 4 และไตรลักษณ์ เข้ากับสาระวิชาสามัญเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและความลึกซึ้งในการเรียนรู้ ทั้งนี้ โมเดลดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิด “BAAN” ซึ่งหมายถึง Balance (สมดุลทางจิตใจ), Awareness (ความรู้สึกตัว), Aspiration (แรงบันดาลใจ) และ Noble Practice (การปฏิบัติเพื่อความดีงาม) ซึ่งเป็นหลักการสนับสนุนให้การตื่นรู้เบิกบานเกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในตัวผู้เรียน โดยโมเดล 3C-BAAN นี้มีจุดเด่นในการส่งเสริมการเรียนรู้แบบจิตตปัญญา มีความสอดคล้องกับหลักธรรมทางพุทธศาสนา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้จริงในห้องเรียนผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมสติ การสะท้อนคิด และการเรียนรู้เชิงประสบการณ์<br />ผลที่ได้จากการนำเสนอโมเดลนี้สะท้อนให้เห็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อบริบทของโรงเรียนพระปริยัติธรรม ซึ่งมุ่งเน้นการฝึกตน พัฒนาจิตวิญญาณ และการมีระเบียบวินัย อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของนักเรียนในระบบการศึกษาพระพุทธศาสนา และมีศักยภาพในการขยายผลสู่ระบบการศึกษาทางเลือกอื่น ๆ ที่เน้นการเรียนรู้เพื่อความสุข ความดี และการรู้ตน</p>
2025-05-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการศึกษาครุศาสตร์
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/JISES/article/view/1803
ทัศนคติของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ในยุคเทคโนโลยีขับเคลื่อนการเรียนรู้: กรณีศึกษา รายวิชา การจัดการเรียนรู้และการบูรณาการ
2025-04-29T14:25:23+07:00
ชัษษพณขิ์ จันวงค์เดือน
Chatsaphon.c@nrru.ac.th
วริญรดา บรรหาร
Chatsaphon.c@nrru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ในยุคเทคโนโลยีขับเคลื่อนการเรียนรู้: กรณีศึกษาในรายวิชา การจัดการเรียนรู้และการบูรณาการ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาที่เรียนรายวิชา การจัดการเรียนรู้และการบูรณาการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวม นักศึกษา มีทัศนคติต่อการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ในยุคเทคโนโลยีขับเคลื่อนการเรียนรู้: กรณีศึกษารายวิชาการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการ <br />โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล รองลงมา คือ ด้านการวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนรู้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการสื่อสารของอาจารย์ </p>
2025-05-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการศึกษาครุศาสตร์